วันจันทร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2554

วุฒิจัดชำแหละกสทช.ถามหาเงินประมูลสื่อรัฐอยู่ไหน

คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์ เทคโนโยลี การสื่อสารและโทรคมนาคม วุฒิสภา จัดการสัมมนาระดมความคิดเห็นเรื่อง "ชำแหละพ.ร.บ.กสทช.เริ่มแรกและเร่งด่วนสู่แนวทางของแผนแม่บทฯ โดยมีผู้ร่วมอภิปรายประกอบด้วยนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ รักษาการเลขาธิการกทช.ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ กสทช.

นายมนต์ชัย หนูสูง กรรมการบริหารสมาคมโทรคมนาคม นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย นายต่อพงษ์ เสนานนท์ ประธานฝ่ายส่งเสริมการเข้าถึงเทคโนโลยีและสื่อสารสาธารณะ สภาคนพิการทุกประเภทแห่งประเทศไทย รศ.ดร.ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ นายกสมาคมวิชาการนิเทศศาสตร์และการสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย นางจำนรรค์ ศิริตัน นายกสมาพันธ์สมาคมวิชาชีพวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ นายเกษม อินทร์แก้ว นายกสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย นายทวี กาญจนภู กรรมการสหพันธ์องค์กรผู้บริโภค ที่รัฐสภา วันที่ 11 ม.ค.2554



วงสัมมนาได้แสดงความเป็นห่วงประเด็นการประมูลทุกรณี ความเท่าเทียมของค่าตอบแทนวิชาชีพสื่อระหว่างนักข่าวกับผู้ประกาศข่าว รวมถึงหามหาเงินประมูลสื่อของรัฐที่ผ่านมาเป็นแสนล้านบาทเก็บได้บ้างหรือไม่อย่างเช่นกรณีสถานีโทรทัศน์ไอทีวี


นายประสิทธิ์ โพธสุธน ประธานคณะกรรมาธิการวิทยาศาสตร์ ฯ กล่าวเปิดสัมมนาว่า ภายหลังจากที่มีการระดมความเห็นทั้งหมดแล้ว ก็จะสรุปข้อเสนอแนะไปยังนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯให้รับทราบต่อไป

นายต่อพงษ์ กล่าวว่า การจัดทำแผนแม่บทวรรคหนึ่งให้กสทช.รับฟังความคิดเห็นของประชาชน ผู้ประกอบกิจการ และหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาเกรงว่าจะยิ่งทำให้ยุ่งยาก และกระบวนการหยุดชะงักได้ ที่สำคัญสิ่งที่ กสทช.ในอนาคตต้องคำนึงว่าแผนแม่บทใหญต้องคำนึงถึงแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐด้วย ส่วนปัญหาในเรื่องการแย่งชิงคลื่นตนเชื่อว่าต่อไปไม่น่ามีปัญหา เพราะคลื่นจะมีเยอะจนไม่ต้องแย่งชิง



รศ.ดร.ยุบลเห็นว่าการประมูลคลื่นมีความกังวลว่าจะมีวิธีการอย่างไรให้มีการประมูลโดยไม่ให้เอาเรื่องตัวเงินมาเป็นตัวตั้ง ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นว่าคนจ่ายเงินมากได้สิทธิ์มาก แล้วคลื่นความถี่ที่บอกว่าว่าเป็นของสาธารณะก็อาจจะไม่ใช่ของสาธารณะอย่างแท้จริง

นอกจากนี้จากการทำวิจัยเกี่ยวกับการบริโภคสื่อพบว่าสื่อใหม่ หรือเครื่อข่ายสังคมออนไลน์ขยายตัวรวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะผู้บริโภคที่มีอายุน้อย ดังนั้นเกรงว่าผู้บริโภคอาจะมีความรู้ความเข้าใจที่ดีพอ และอาจตกเป็นเหยื่อของสื่อใหม่ๆได้

นางจำนรรค์ กล่าวว่า กฎหมายที่ออกมา รู้สึกได้ถึงการกีดกันภาควิชาชีพอย่างมาก โดยเฉพาะการกำหนดว่า คนที่ทำงานด้านวิทยุและโทรทัศน์จะต้องลาออกการทำงานในวิชาชีพดังกล่าวมาก่อน 1 ปีจึงจะสามารถมาลงสมัครเป็น กสทช.ได้ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะมีใครลาออกมาก่อน เพราะไม่มีใครสามารถการันตีได้ว่าออกมาแล้ว 1 ปีแล้วจะได้เป็น กสทช.แน่นอน

นายเกษม กล่าวว่า กสทช.จะต้องมาดูแลผลประโยชน์มหาศาลของชาติ ดังนั้นคนที่จะมาเป็นต้องมีความเป็นอิสระ เป็นกลาง ต้องสนใจประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก ส่วนเรื่องการประมูลคลื่น ต้องกำหนดหลักการให้ชัดเจน โปร่งใส แต่ไม่ใช่เปิดประมูลไปหมด และอยากถามว่าคลื่นทั้งหมดที่มีอยู่ อย่างคลื่นทหารจะมีการเรียกคืนหรือไม่ เพราะยุคนี้เป็นยุคข้อมูลข่าวสาร การปิดข้อมูลทำไม่ได้

นายฐากร กล่าวว่า ตั้งแต่ที่สำนักงานเลขาครม.ทำหนังสือว่าได้มีการประกาศใช้พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ. 2553 เมื่อวันที่ 19 ธ.ค.ที่ผ่านมา ตนได้มีการประชุมหารือกับเจ้าหน้าที่เพื่อเตรียมความพร้อม ปรากฎว่ามีปัญหาและอุปสรรคเยอะมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Google