วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

พลโทบีทูผู้น้ำกะเหรี่ยงKNPPโผล่เปิดใจครั้งแรก

ในกลุ่มติดอาวุธทั้ง 3 กลุ่มที่ยังสู้รบกับรัฐบาลพม่าอันได้แก่ กองทัพรัฐฉาน (Shan State Army -SSA) ,กลุ่มสหภาพชาติพันธุ์กะเหรี่ยง (Karen National Union-KNU), และกองกำลังพรรคก้าวหน้าแห่งชาติกะเรนนี (Karenni National Progress Party-KNPP) ซึ่งเคลื่อนไหวต่อสู้อยู่ในรัฐกะยา

เราแทบจะไม่ได้ยินข่าวคราวจากกลุ่ม KNPP ปรากฏออกมามากนัก อีกทั้งรัฐกะยา นับเป็นรัฐที่มีพื้นที่เล็กที่สุดในประเทศพม่า พรพิมล ตรีโชติ กล่าวไว้ในงานเขียน “ชนกลุ่มน้อยกับ รัฐบาลพม่า” ว่า รัฐกะยามีเนื้อที่ประมาณ 11,730 ตารางกิโลเมตร ส่วนผู้นำทางทหารของกะเรนนี ระบุว่า แผ่นดินของตนมีเนื้อที่ 4,555 ตารางไมล์ และประชาชนในรัฐหลักๆ แล้วประกอบด้วย ชนเผ่ากะเรนนี(กะยา-กะเหรี่ยงแดง), กะเหรี่ยงสะกอ(ปกากะญอ-กะเหรี่ยงขาว), ปะด่อง(กะเหรี่ยง คอยาว), กะยอ, ไทใหญ่, ปะโอ(ต่องสู่), ยินดาไล และชาวเขาเผ่าต่างๆ รัฐกะยาอยู่ติดกับ จ.แม่ฮ่องสอน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงและป่าไม้ ที่ราบมีน้อย แผ่นดินอุดมด้วยแร่ธาตุ นานาชนิดทั้ง ทองคำ ทองคำขาว เหล็ก ตะกั่ว พลอย ดีบุก วุลแฟรม และก๊าซธรรมชาติ บุญช่วย ศรีสวัสดิ์ระบุในงานเขียน “คนไทยในพม่า” ถึงสุภาษิตของชาวกะเรนนีบทหนึ่งมีว่า “เขียดร้อง ฝนจึงตก ฝนตกปลาจึงขึ้น ปลาขึ้นเพราะน้ำมาก น้ำมากช้างจึงลากซุง ซุงจึงตกสู่แม่น้ำ ซุงตกถึงแม่น้ำจึงบริบูรณ์” และบุญช่วย ศรีสวัสดิ์ได้อธิบายว่า สุภาษิตบทนี้แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของรัฐกะยาขึ้นอยู่กับการทำป่าไม้ ซึ่งนอกจากจะเป็นไม้สักแล้ว ยังมีไม้สน ไม้ยาง ไม้ตะเคียน ไม้ประดู่ ฯลฯ แต่ในบัดนี้ผู้นำกะเรนนีกล่าวว่า พม่าทำลายป่าสัก ตัดไม้ซุงในรัฐกะยา ไปขายจนทรัพยากรไม้สักเหลืออยู่น้อยเต็มทีแล้ว

ดูต่อ http://www.meeboard.com/view.asp?user=shanmusic&groupid=5&rid=948&qid=109

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Google