วันเสาร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

"บวรศักดิ์"ยก"บริจาคะ"สอนธรรมคนทรยศชาติ

ขณะที่ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับเขมรย้ำเขมรกำลังคุกรุ่นอยู่เพราะคนๆเดียว ส่งผลให้รัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี จำต้องประกาศทบควนความสัมพันธ์กับเขมรย้ำอีกเขมรเรียกทูตกลับ ก็มีคนไทยทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วยด้วยปัจจัยและฐานปัญญาแตกต่างกันไป

สำหรับนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรีสมัยคนๆนั้นได้ออกมาแสดงความเห็นว่า รัฐบาลทำถูกต้องแล้ว ไม่มีอะไรที่รุงแรงเกินไป ตนสนับสนุนการตัดสินใจของนายอภิสิทธิ์ แต่ขอให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องระวังให้ดีว่าความขัดแย้งระหว่างไทยกับเขมรอาจนำไปสู่จุดเริ่มต้นของการล่มสลายของอาเซียน
ขณะเดียวกันนายบวรศักดิ์ได้ขอฝากข้อคิดไปถึงคนที่เป็นผู้นำประเทศหรือคนที่เรียกตัวเองว่าเป็นผู้นำหรือกระสันจะเป็นอีกว่า จะต้องมีธรรมะข้อหนึ่งคือ ปริจาคะ หมายถึงการเสียประโยชน์ส่วนตัวเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ใครก็ตามที่เอาประโยชน์ส่วนรวมมาต่อรองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง คนแบบนี้ไม่สมควรที่จะเป็นผู้นำในระดับใดทั้งสิ้น

การแสดงความเห็นของนายบวรศักดิ์ครั้งนี้ในโอกาสปิดการประชุมวิชาการประจำปี ครั้งที่ 11 ของสถาบันพระปกเกล้าเรื่อง “ ความขัดแย้ง ความชอบธรรมและการปฏิรูประบบรัฐการจัดสรรผลประโยชน์ที่เป็นธรรมในสังคมไทย” ซึ่งก็มีข้อสรุปนักธุรกิจ นักการเมือง ข้าราชการเป็นสามเหลี่ยมคอรัปชั่น ปั้นโครงการแบ่งกันกิน พร้อมกับเสนอปรับปรุงระบบเลือกตั้งส.ส.-ที่มาส.ว.อย่างให้มีสภาผัวสภาเมีย เพิ่มอำนาจนายกฯ สร้างดุลยภาพฝ่ายบริหาร-นิติบัญญัติ ได้ยินมานานแล้วข้อสรุปแบบนี้ไม่หมดไปจากสังคมไทยเสียที

จุดที่น่าสังเกตุหลักธรรมนายบวรศักดิ์ยกมาสอนผู้นำประเทศหรือคนที่เรียกตัวเองว่าเป็นผู้นำหรือกระสันจะเป็นอีกคือ บริจาคะ ซึ่งเป็นหนึ่งในทศพิธราชธรรม แทนที่นายบวรศักดิ์จะใช้คำว่า "ทาน" ซึ่งก็เป็นหลักธรรมหนึ่งในทศพิธราชธรรมเหมือนกันเพราะคำว่า "ทาน" คือการให้ (แจก) สิ่งของ แต่การ "บริจาคะ" คือการละความเห็นแก่ตัว

แต่บุคคลที่นายบวรศักดิ์ต้องการพูดถึงหรือต้องการให้มี "บริจาคะ" ก็มีคนที่เคยสรุปไว้ว่าคนๆนั้นมีบ้างหรือไม่ อย่างเช่น นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรีได้เคยกล่าวไว้ว่า "ผู้ที่มีอำนาจมากมักลืมตัวกับสิ่งยั่วใจ คิดว่าตัวเองเหนือผู้อื่น ตัวเองไม่มีข้อตำหนิ อันนี้ผมเขียนไว้ทำไม อาจจะเป็นคำรับสั่งของท่านที่เคยให้ไว้ นอกจากนั้นผมได้เขียนปิดท้ายในบทความในสมัยนั้นว่า ความไม่สำเร็จของผู้นำบางคน ซึ่งตอนนั้นผมไม่พอใจท่านหนึ่ง ที่ไปอยู่ต่างประเทศ ตอนนี้มีตรงนี้ทุกข้อ เช่น ทาน รวยแล้วไม่เคยทำบุญ วันมาฆบูชาคนอื่นไปเข้าเฝ้าฯ ในหลวงในวัง แต่กลับไปตีกอล์ฟไปฮ่องกง ศีล อย่างนโยบายผิดพลาดเช่นเรื่องยาเสพติด ความไม่โปร่งใส การทุจริตเชิงนโยบาย

จาคะก็เช่นเดียวกัน ไม่เคยสละความสุขส่วนตัว ความซื่อตรง เห็นชัดการแต่งตั้ง ความอ่อนโยน พูดจาก้าวร้าวดูถูกผู้ที่ไม่เห็นด้วย นึกว่าตัวเองเก่งที่สุด มีกิเลสตัณหา อยากรวยต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด ออกกฎหมายเพื่ออำนวยธุรกิจ โกรธง่าย ไม่เชื่อคนอื่นเสนอแนะ เชื่อแต่คนรอบตัวบริวารเก่า เบียดเบียนคนอื่นด้วยเงิน อำนาจ ซื้อโฆษณาหนังสือพิมพ์ ซื้อหุ้นบริษัทคู่แข่ง ขันติ ไม่มีความอดทน ใจร้อนวู่วาม ไม่มีความรอบคอบ อ้างว่าอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงเร็ว ไม่ตั้งมั่นในธรรม ไม่โปร่งใส ตอนนั้นเป็นข้าราชการเพิ่งเกษียณเลยพูดได้"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Google