วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เพลง “สาวไทคำตี้”พร้อมเนื้อจากนายช่างปลูกเรือน



เพลง “สาวไทคำตี้”

สาวไทคำตี้ คิดให้ดี ๆ (สาว-ไตคำตี-ขอื้-จอื-นี-นี)
พ่อแม่เธอนั้น ไทคำตี้ (โป-เม-มอื-ไน่-ไตคำตี)
บรรพบุรุษ พ่อแม่เธอทั้งหมด ไทคำตี้ (ปู่เลน-ยาเลน-โปเม-มอื-ตังเมิง ไตคำตี)

แล้วทำไม เธอ ผู้เดียว (ลาย-เปอ-สัง-มอื-โก้-เลิง)
เสื้อผ้าไทเรา เธอก็ไม่อยากนุ่ง (เคิง-ไต-เฮา-ก็-มอื-ค่าน-นุง)
ภาษาไทเรานี้ เธอพูดไม่เป็น (คาม-ไต-เฮา-ไน่-มอื-ต้าน-เหม่า-จาง)

เรียนวิชาความรู้มากมาย (สอน-ขา-ตาง-จาง-ปิ่ง-หญ่า-กุ่ม)
ก้าวหน้า เงินทองมีครบถ้วน (ขึ้น-สูง-งืน-คำ-มี-ตัง-กุ่ม)
สิ่งที่พ่อแม่สั่งสอน (ลอง-อัน-โป-เม-สอน-แหฺน )
ไม่เชื่อฟังคำ สักนิด (เหม่า-เยิง-จอม-คาม-กำ-เลิง)

เธอแต่งงานกับคนอื่น (มอื-เปน-ก้า-พัน-เปิน )
ลูกหลาน ออกมาเป็นเชื้อสายอื่น (ลูก-หลาน-ยัง-มา-พัน-กน-เปิน)
คนเชื้อสายเรา คำตี้ เอา หายสิ้น (โห-กน-พัน-เฮา-คำตี-เอา-หาย-เจิ้ม)

ใจรัก เครือไทคำตี้ อย่างแท้จริง (จอื-ฮัก-เคอ-ไตคำตี-สอื-นอื-จอื)
เลือดแดงไหลไปทั่วทั้งร่าง (เนิต-แนง-พ่ด-โห่-มอื-ตัง-โต)
พี่น้องสาวไทคำตี้ ( ปี-น่อง-สาว-ไตคำตี)
แต่งงานกับเชื้อสายคำตี้ ( เอา-โผ-พัน-คำตี)
ทางนี้ เชื้อสายคำตี้ มีมาก (ตาง-นี่-หนำ-หลาย-พัน-คำตี)

การเรียงคำ แบบ ประธาน - กรรม - กริยา ของภาษาไทคำตี้ นั้น ยังหาไม่พบครับ

แต่ไปพบ ในเอกสาร(อัดสำเนา) "การศึกษาอักษรและ้เอกสารโบราณของไท"
ของ รศ.เรณู วิชาศิลป์ ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มช. (๒๕๔๙)

ว่า การเรียงคำ ในภาษาอัสสัม มีอิทธิพลต่อภาษาไทอาหม คือ

๑. เรียงคำขยายไว้หน้าคำนาม เช่น ถึกมะ (ม้าถึก), นังรู (รูจมูก), ตังลุงไข (ไข่ทั้งหลาย),
กุนนือ (เนื้อคน), ผาจิตผูตือ (ผู้ถือผ้าเช็ด), กุลาวัน (วันแบบกุลา)

๒. เรียง ประธาน - กรรม - กริยา แบบอัสสัม หรือ ฮินดู เช่น
กาพร่อง กุนนือ หุงกิน (บางคน หุงเนื้อคนกิน)
ควาย ฆ่า หุงกิน (ฆ่า ควาย กิน)

๓. เรียงคำบอกเวลา สถานที่ ไว้หน้าหรือหลังประธาน เช่น
มัน ตีกาต ไข ไขไก (มัน ที่ตลาด ขายไข่ไก่ - มันขายไข่ไก่ที่ตลาด)

หมายเหตุ - เอกสารในยุคแรก ก็เขียนเหมือนภาษาไท อื่น ๆ ตามปกติ

(หมายเหตุ -โพสต์ในpantip.com)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Google