วันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ธรรมะพารวยทักษิณพาจน(ปัญญา)มัวหาเงิน?

คนไทยคงจะคุ้นเคยกับคำว่า "มีเงินเขาก็นับว่าน้องมีทองเขาก็นับว่าพี่" จึงหากันแห่แหนยกย่องคนที่ร่ำรวยว่าเป็นคนดี และต้องการที่รวยกับเขาบ้าง พากันแสวงหาความรู้ จึงทำหนังสือประเภททำให้รวยและแก้จนออกมาอย่างมากมาย อาทิ "พ่อรวยสอนลูก" โดยไม่ได้สนใจพื้นฐานหรือความเป็นมาของคนรวยคนนั้นเลยว่ารวยมาได้อย่างไร เป็น"สัมมาอาชีวะ"หรือไม่ จนกระทั้งมีทัศนคติรับได้กับคนโกง จึงทำให้หนังสือ "พ่อจนสอนลูก" ขายไม่ค่อยได้

เมื่อพฤติกรรมของคนไทยเบี้ยวๆเช่นนี้ส่งผลให้พระนักเทศน์อย่างพระว. วชิรเมธีได้เขียนหนังสือ "ธรรมะพารวย" เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2551 ชี้แนะแนวทางการประกอบธุรกิจที่เป็นสัมมาทิฐิที่ไม่ผิดศีลธรรมอย่าง พูดง่ายๆก็คือไม่โกงก็รวยได้นั้นเอง และต่อมา อาจารย์อัจฉรา โยมสินธุ์ อาจารย์ประจำภาควิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คอลัมนิสต์ประจำหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ เจ้าของผลงานชิ้นแรก “อ สตางค์ ทุกขัง มรณัง?” ก็ได้ออกหนังสือเรื่อง “ธรรมะพารวย” อีกเวอร์ชั่นหนึ่งก็ได้รับความสนใจจากผู้คนอยากรวยทั้งหลาย และมีสื่อนำมาถ่ายทองอีกแรงหนึ่ง

เมื่อมีผู้มาเสนอแนะทางรวยแบบสัมมาทิฐิเช่นนี้มีหรือที่จะไม่อยากรู้เทคนิคบ้าง จึงได้ค้นคว้าข้อมูล ข้อมูลแรกที่พบก็คือ

"เราไม่มีปัญญาที่จะมีเงินถึงล้านแต่เราก็สามารถทำประโยชน์ อันมีค่าถึงร้อยล้านพันล้านได้ อย่ามัวหาเงินอยู่เลย มาทำประโยชน์กันดีกว่า นั่นคือ ทำให้เพื่อนร่วมโลกของเรา รู้จักดับทุกข์ หยุดเห็นแก่ตัว"
จากหลวงพ่อพุทธทาสภิกขุ


ก็ทำให้รู้สึกอึ้งอยู่เหมือนกัน ทำให้เกือบล้มเลิกที่จะหาข้อมูลต่อไปว่าทั้งสองท่านข้างต้นเสนอแนะอย่างไรบ้าง จะไปหาซื้อหนังสือมาอ่านก็อย่างว่านั้นแหละเพราะ “อ สตางค์" แต่หาเท่าไรก็ไม่พบรายละเอียดของเนื้อหาในหนังสือของโลกไซเปอร์เสียที ก็ไม่เสียหลายเพราะได้คาถาหัวใจเศรษฐีมาถือ "อุ-อะ-กะ-สะ" ก็ต้องศึกษาต่อไปว่า คาถา 4 ตัวนี้หมายถึงอะไร เพราะจะมัวแต่นั่งท่องอยู่คงจะอดตายแน่ ถึงได้รู้ว่า คาถา 4 ตัวนี้ก็คือหลักธรรมเบื้องต้นของฆราวาสที่พระเทศน์อยู่เป็นประจำนั้นเอง

แต่ถึงกระนั้นก็ได้พบบทความทากรุงเทพธุรกิจออนไลน์ ทาง http://www.bangkokbiznews.com มีเนื้อหาที่น่าสนใจรวมถึงมีความเห็นจากอาจารย์อัจฉราด้วยความว่า

Oหมั่นหาความสุขที่ไม่ผูกติดกับเงินทอง

"ดร.สมจินต์ ศรไพศาล" กรรมการผู้จัดการ บลจ.วรรณ บอกว่า ทุกวันนี้รอบตัวเต็มไปด้วยสิ่งยั่วเย้าให้เกิดกิเลสได้ง่าย นั่นทำให้ต้องคิดว่าแล้วจะจัดการกับกิเลสอย่างไร โชคดีที่เขาได้มีโอกาสบวชเรียน ฝึกการจัดการกับความอยาก เพราะเวลาที่เป็นพระ เขาได้ตัดทอนเรื่องยั่วยุกิเลสไปเยอะมาก พระมีโอกาสค่อนข้างดีในการจัดการกิเลสเพราะถูกกรอบบังคับไม่ให้ไปยุ่งกับกิเลสเท่าไหร่

“ผมพบว่าวิธีกำจัดกิเลสอย่าง่ายๆ คือลองคิดว่า เราทานอาหารไม่ได้ทานเพื่อความหรืออร่อยเพลิดเพลินเป็นหลัก แต่ทานเพื่อให้มีชีวิตอยู่ให้ร่างกายแข็งแรง เวลากินยาก็ไม่ได้กินเพียงเพื่อให้สวยหรือผอมขึ้น แต่กินเพื่อกำจัดโรคภัยไข้เจ็บ เวลาแต่งตัวก็ไม่ได้ดึงดูดให้คนมองว่าสวย แต่แต่งกายเพื่อห่มคลุมร่างกายไม่ให้หนาว ลักษณะนี้ทำให้เราเข้าถึงจุดประสงค์ของการใช้ชีวิตที่แท้จริง นั่นเป็นวิธีบริหารจัดการชีวิต ลดกิเลส ไม่ให้พาตัวเองไปอยู่ภายใต้กิเลสมากเกินไป”

ดร.สมจินต์บอกว่า ที่จริงแล้วเวลามีโอกาสไปชอปปิ้งเขาเองก็มีความสุขไม่ต่างจากคนอื่น แต่เวลาจะซื้อต้องคิดว่าเราซื้อเพราะอะไร ซื้อเพราะราคาถูกหรือเปล่า เช่นเวลาลดราคา หรือนาทีทอง คนก็จะไปรุมกัน บางทีซื้อไปแล้วก็ไม่ได้ใช้

“หลักในการซื้อของๆ ผม ยึดตามหลักของวอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีอันดับหนึ่งของโลกและผู้เชี่ยวชาญทางการเงิน เขาบอกว่าเวลาจะซื้อของ ให้ถามคำถามสำคัญ 2 ข้อ 1.ซื้ออะไรดี 2.ราคาเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม ถ้าเราแค่ไปเดินเล่นพอเห็นอะไรถูกใจก็ซื้อ นั่นคือส่วนใหญ่จะไปติดกับดักของกิเลส เพราะราคาถูกเลยซื้อมา ทั้งที่ไม่ได้เกิดจากความต้องการที่แท้จริง แต่ถ้าเราแยกได้ว่าอะไรจำเป็น อะไรอยากได้ เราก็จะไม่ติดกับดักของกิเลส”

กรรมการผู้จัดการ บลจ.วรรณบอกว่า คนเราควรจะตั้งอยู่บนความพอเหมาะพอควร ใช้ของอย่างคุ้มค่า มีความสุขจากการชอปปิ้งได้ แต่ต้องซื้อของที่คุณภาพดี ดูดี ไม่ต้องหรูหราก็ได้ เพราะค่าของความหรูหรามันแพงมาก แต่ก็ไม่ใช่ซื้อแต่ของราคาถูกลองสังเกตว่า ถ้าเราซื้อของถูกใช้ได้แค่ครั้งสองครั้งหรือแค่ครั้งเดียวก็ขาดแล้ว ไม่คุ้ม

การรบรากับกิเลสนั้น อยู่ที่ว่าถ้าเรารู้ว่าเรามีความสุข เราจะบริหารกิเลสได้ ตราบที่เราไม่รู้ว่าเรามีความสุขหรือไม่ เราจะจัดการกับกิเลสไม่ได้ สิ่งสำคัญคือต้องหาความสุขที่ไม่ผูกติดกับกิเลสและเงินทอง เพราะเมื่อไหร่ที่ปล่อยให้เกิดความอยากมากเข้าก็ต้องดิ้นรนหาเงินมาเพื่อปรนเปรอความอยาก บางครั้งทำให้เราต้องพยายามหาเงินด้วยความไม่ถูกไม่ควร

“ผมขอโค้ดคำพูดของนายแพทย์ท่านหนึ่งที่เคยพบเมื่อ 2 เดือนที่แล้ว ท่านบอกผมแค่สั้นๆ ว่า Less is More แนวคิดนี้สำคัญมากสำหรับชีวิต ลองสังเกตว่าเวลาเราไปโรงแรม จะพบว่าห้องสวยกว่าที่บ้าน เพราะมีของน้อย มีแต่ของที่จำเป็นต้องใช้ ไม่รกตา

แนวคิดนี้ ยังทำให้พบว่า มีของถูกที่ดีกว่าของแพงตั้งเยอะ หรือบางครั้งของฟรีมีค่ากว่าของที่ต้องใช้เงินซื้อ การจะก้าวข้ามกิเลสและสิ่งที่ผูกติดกับเงินทองได้ คือต้องรู้เห็นคุณค่าของสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ถ้าเราเข้าใจสิ่งเหล่านี้ คงจัดการกับกิเลสได้ง่ายขึ้น และหาความสุขได้ง่าย"

หลายคนอาจสงสัยว่า กิเลสแมเนจเม้นท์ จัดการแล้วต้องอยู่แบบจนๆ หรือเปล่า ที่จริงแล้วไม่ใช่ โดยส่วนตัวของ ดร.สมจินต์คิดว่าการจัดการกิเลสในระดับที่พอดี ตัวอย่างที่ดีคือบัฟเฟตต์คือ เขาพอเพียงในการจับจ่าย และการใช้ชีวิต แต่ไม่เคยพอเพียงในการทำงาน ผลงานของเขาจะต้องได้งานที่ดี และเมื่อได้เงินมาต้องคืนแก่สังคม

ดร.สมจินต์ยังบอกว่า การสร้างรายได้ของคนทั่วไปมักถูกขับเคลื่อนด้วยกิเลส ที่จริงเราสามารถขับเคลื่อนด้วยความรัก เช่น รักในงานชิ้นนั้นๆ เมื่อรักก็จะทำงานให้มีคุณค่า

“เช่นตัวอย่างของผมเป็นฟันด์ แมเนเจอร์ งานของผมคือบริหารเงินให้ลูกค้า ให้เงินต้นยังอยู่ และมี[คำไม่พึงประสงค์]กผลงอกเงยต่อไป เราต้องบริหารเงินอย่างดี และเมื่อแนะนำได้อย่างถูกต้อง ลูกค้าไว้วางใจ รายได้ก็จะตามมาทีหลัง”

ดังนั้น การจัดการกิเลสจะทำให้รายจ่ายถูกดูแล ภายใต้รายได้ที่มีอยู่สามารถออมและเอาไปลงทุนได้ การลงทุนนำมาซึ่งความมั่งคั่ง ขณะที่กิเลสของเรายังมีอยู่ ต้องยอมรับว่ายากมากที่เราจะเหลือเงินไปลงทุนได้ง่ายๆ เหมือนการพายเรือทวนน้ำ สมมติว่ามีเงินเดือน 2 หมื่นตั้งใจออมเดือนละ 10% คือ 2 พันบาท แต่ใช้ไปเรื่อยๆ รอให้เหลือเงินออมตอนสิ้นเดือน ทำเท่าไหร่ก็ออมไม่ได้

“ผมมีตัวอย่างสามีภรรยาคู่หนึ่งในอเมริกา ตอนอายุ 50 กว่า พวกเขาเป็นเศรษฐีแล้วเพราะตัดสินใจถูกต้อง ทำให้เป็นเศรษฐีในวันนี้ เขาบอกนายจ้างว่าทุกวันที่เงินเดือนออก ให้เงินเขาแค่ 90% พอ อีก 10% ช่วยลงทุนแทนเขาหน่อย ในระยะ 30 ปีหลังจากนั้น ไม่มีเดือนไหนเลยที่สามีภรรยาคู่นี้ไม่ได้ลงทุน ตลอด 360 เดือนเขาออม

โดยได้ผลตอบแทน 10% อย่างต่อเนื่อง ตอนออกจากงานเขามีเงินสะสมคนละ 20 ล้าน[คำไม่พึงประสงค์]ลลาร์ 2 คนก็เป็น 40 ล้าน[คำไม่พึงประสงค์]ลลาร์ 2 คนนี้จัดการกิเลสในแบบของเขา เพราะรู้ว่าถ้าเจ้านายจ่ายเงินเดือนให้ครบ 100%ก็อาจจะไม่เหลือ มนุษย์ธรรมดาไม่ง่ายที่จะลงทุนอย่างต่อเนื่อง เขาก้าวข้ามความไว้วางใจตัวเอง โดยการลงทุนโดยอัตโนมัติ เราเริ่มต้นจาก 10% ขยับเป็น 15% หรือ 20% ได้ กิเลสน้อยลง ความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นสอดคล้องกันเหลือเกินความงดงามในชีวิตก็จะเกิดขึ้น”

Oกิเลสถูกจัดการได้ด้วยการรู้จักตัวเอง

"อัจฉรา โยมสินธุ์" อาจารย์ภาควิชาการเงิน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ผู้เขียนหนังสือเรื่อง "ธรรมะพารวย" เล่าประสบการณ์การสู้รบกับกิเลสและวิธีจัดการกับมันว่าเป็นธรรมดาของผู้หญิงทุกคนที่ซื้อและช้อปได้ตลอดเวลา สังเกตว่าเดี๋ยวนี้ข้างออฟฟิศจะมีตลาดนัด และผู้หญิงส่วนใหญ่ก็มักจะได้ของหิ้วขึ้นมาด้วย ซึ่งเธอเองก็เป็นหนึ่งในผู้หญิงแบบนั้น ซึ่งบางทีซื้อมาแล้วก็มานั่งคิดว่าไม่จำเป็นเลย ซื้อแบบไม่เคยคิด เพราะเห็นว่าของราคาถูก

“วันหนึ่งนั่งมองที่โต๊ะทำงาน มีที่ทับกระดาษอยู่ 8 อัน ดินสอก็มีเยอะมาก ทั้งที่จริงเวลาใช้ก็ใช้ทีละอัน ตอนนั้นรู้แล้วว่ามีเยอะเกินไป อีกครั้งคือตอนย้ายบ้านก็เก็บของเพื่อเตรียมนำไปบริจาคให้วัดสวนแก้วมารับ ปรากฏว่ามีของที่ไม่เคยใช้เลย เยอะมาก 3 คนพี่น้องผู้หญิงหมดเลย ช้อปเยอะมาก แต่มีหลายชิ้นที่ยังไม่เคยใช้เลย ถ้ารวมมูลค่าแล้วก็มหาศาลมาก ตอนนั้นตกใจ เราซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้เยอะขนาดนี้เลยหรือ มองหน้ากันเลยตอนนั้น”

ตอนนั้น เราตั้งปณิธานว่าจากนี้ไป "ถูกแค่ไหนถ้าไม่ได้ใช้ก็ไม่ซื้อ" ท่องให้ขึ้นใจเลย เพราะผู้หญิงมักจะแพ้ของลดราคา พอเห็นป้ายเซลก็แพ้ใจตัวเองตลอด ต่อมาพอเริ่มไม่ซื้อบ่อยขึ้น กลายเป็นว่าเกิดความไม่ค่อยอยากซื้อโดยอัตโนมัติ และใช้ของอย่างคุ้มค่า

“คิดว่า ทุกคนคงต้องหาจุดคลิก ก่อนอื่นเราต้องรู้ตัวเองว่าก่อนว่า เราเป็นใคร เราทำอะไร เรามีรายได้แค่ไหน จากสิ่งที่มีเราควรจะมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่ นั่นจะเป็นวิธีจัดการกิเลส ซึ่งกิเลสจะโดนจัดการได้ด้วยการรู้จักตัวเอง เราจะไม่มองว่าตอนนี้คนรอบตัวใช้ไอโฟนหมดแล้ว ฉันต้องเปลี่ยนโทรศัพท์แล้วล่ะ ทั้งที่จริง เราใช้แค่โทรเข้าโทรออกก็พอแล้ว นั่นก็แปลว่าไม่จำเป็นต้องซื้อไอโฟนตามคนอื่น

“ตอนนี้เวลาจะซื้อของ เช่นถ้าจะซื้อรองเท้าซักคู่หนึ่งที่แพงมาก จะคำนวณเลยว่าเราจะต้องใช้ไม่ต่ำกว่ากี่ปี ถ้าเป็นรองเท้าถูกๆ จะไม่ค่อยซีเรียสมาก” “การรู้จักให้” เป็นอีกอย่างหนึ่งที่อัจฉราบอกว่าช่วยลดความอยากได้ เธอเล่าให้ฟังว่า เคยไปเปิดท้ายขายของ โดยนำเสื้อผ้าบางชิ้นจะเอาไปขาย 200 บาท แต่คนซื้อต่อราคาเหลือ 50 บาท

นั่นแสดงว่ามีคนเดือดร้อนและลำบากกว่าเราเยอะ เธอจึงตัดสินใจขายของชิ้นนั้นที่ราคา 30 บาท แต่นั่นทำให้เธอรู้ว่า การให้ช่วยลดความอยาก ลดกิเลส ลดความหรูหราฟุ่มเฟือยไปเยอะ เหมือนที่พระพุทธเจ้าบอก เราต้องกำจัดกิเลสด้วยการให้

อัจฉาราบอกอีกว่า มนุษย์ปรุงแต่งตลอดเวลา กิเลสเกิดดับๆ อยู่ตลอดเวลา กิเลสเกิดขึ้นเยอะเพราะชีวิตทุกวันนี้พ่อแม่เลี้ยงลูกด้วยทีวี เรากำลังดูทีวีมากเกินไป แล้วสิ่งที่ทีวีปรุงแต่งมานั้น เราเห็นละครทุกช่องบอกว่า ถ้ารวยต้องบ้านหลังใหญ่ รถคันโต ทั้งที่จริงความสุขนั้นเราต้องสร้างเอง ไม่มีเงินก็สร้างความสุขได้ แต่ทำยังไงถึงจะจัดการได้ ถ้าให้ยกหลักธรรมซักข้อ คงนึกถึงหลักสำคัญที่ว่า "เราต้องรู้จักตัวเราเอง" ถ้าเรารู้ว่าต้องการอะไร ก็สร้างด้วยตัวเอง ถ้าเอาความสุขไปผูกไว้กับข้าวของเงินทองก็ต้องหาตลอด

Oรู้จักให้และบริจาคช่วยจัดการกิเลส

"กรุณา อักษราวุธ" เล่าถึงกิเลสของเองว่า เธอเองก็มักจะติดบ่วงของแถม ของอร่อย หลังๆ ก็รู้สึกว่าไม่ไหวแล้ว พอตกหลุมบ่อยเข้า วิธีจัดการกับกิเลสก็คล้ายๆ กับอาจารย์อัจฉราคือ "ให้" และ "บริจาค"

เมื่อคราวที่เศรษฐกิจตกต่ำรอบที่ผ่านมา ช่วงนั้นมีความรู้สึกอายเมื่อต้องใช้เงินฟุ่มเฟือย เพราะมีคนเดือนร้อนเยอะ ตกงานเยอะ ตอนนั้นจึงประหยัดพอสมควร ตั้งแต่วันนั้นจนถึงวันนี้ จะไปซื้อเสื้ออะไรก็รู้สึกว่าเอาเงินไปทำบุญให้เด็กดีกว่า จึงพบว่ากิเลสลดได้ถ้าเรารู้จักแบ่งปันให้คนอื่น ขนาดวอร์เรน บัฟเฟตต์ผู้รวยที่สุดในโลก แต่เขายังใช้ชีวิตอยู่ในบ้านหลังเดิม บ้านหลังเล็กๆ แล้วเอาเงินไปบริจาคตั้งเป็นมูลนิธิ เพื่อช่วยเหลือคนอื่น นั่นเป็นสิ่งที่ดีงามของโลก

กรุณาบอกว่า ถ้าคนเราปล่อยปละละเลยให้กิเลสเป็นใหญ่ก็จะ มันก็มากขึ้นเรื่อยๆ มีความอยากไม่มีที่สิ้นสุด

“สำหรับตัวเองแล้ว มีกิเลสอีกอย่างหนึ่งคือตัวเองเป็นคนชอบเที่ยว เวลาเที่ยวก็ซื้อของกลับมา ของรกในบ้านเต็มไปหมด อีกอย่างพอเปิดตู้เสื้อผ้ามาปรากฏว่าเรามีเสื้อผ้าใส่เล่นตัวละ 199 บาทเต็มตู้เลย แต่เสื้อผ้าใส่ทำงานกลับมีน้อยมาก ขอยกตัวอย่างของภรรยาของโอบามา เธอใส่เสื้อผ้าธรรมดามากเลย ชิ้นละ 200 [คำไม่พึงประสงค์]ลลาร์ 100 [คำไม่พึงประสงค์]ลลาร์บ้าง แต่กลับดูดี เห็นมั้ยคนเราไม่จำเป็นต้องใช้ของแพงก็ดูดีได้”

ความจริงการมีความอยากได้อยากมีในบางเรื่องไม่ใช่เรื่องผิด ของทุกอย่างในโลกนี้มีบวกและลบ หนี้ทางบวกก็มี ทางลบก็มี เช่น หนี้ที่กู้เพื่อไปเรียน ก็ถือว่าสร้างอนาคตที่ดี ถ้าเราคิดว่าสามารถชำระคืนได้ ก็ไม่เป็นไร หรือหนี้บ้านก็เป็นหนี้ดี เพราะถือว่าเป็นการสร้างสินทรัพย์ในอนาคตของครอบครัว แต่หนี้ที่เกิ[คำไม่พึงประสงค์]ะไรที่ไม่จำเป็น หรือที่ให้ความสะดวกสบาย นั่นอาจจะเป็นการสร้างกิเลส

Oให้สติช่วยสลายกิเลส

"วิวรรณ ธาราหิรัญโชติ"นายกสมาคมวางแผนการเงินไทย บอกว่า คนเรามักอยากมี อยากได้ อยากเป็น และเพราะความที่เป็นผู้หญิงก็มักจะอยากได้โน่นได้นี่ จุ[คำไม่พึงประสงค์]่อนของเธอคือบางทีมีเวลาน้อย หรือบางทีก็ไม่มีเวลาชอปปิ้ง ทำให้บางทีเมื่อมีโอกาสหรือจังหวะให้ซื้อ และถูกบีบด้วยเวลาที่มีอยู่จำกัด ก็จะซื้ออย่างไม่คิดเท่าไหร่

“ปรากฏว่าซื้อมาเยอะจนบ้านรกมาก เพราะซื้อมาแล้วไม่ได้ใช้ กิเลสกองอยู่เต็มบ้าน หรืออย่างบางทีเดินทางไปต่างประเทศ ก็จะซื้อของเยอะมาก เพราะคิดว่าเราทำงานมาเหนื่อย ซึ่งตราบใดที่เราหาเงินได้ด้วยความสุจริต เราก็คงต้องจับจ่ายบ้าง แต่ควรจับจ่ายให้พอดี มีกิเลสอย่างรู้ตัว รู้ว่าทำไมถึงซื้อเยอะ เพราะบางทีพอเราทำงานหนักมาก แต่ไม่มีเวลาช้อป พอมีจังหวะซื้อเราก็ซื้ออย่างหักโหม

แต่เมื่อไหร่ที่มีเวลาเยอะ เราก็ทยอยซื้อได้ การปล่อยให้เวลามาจำกัดหรือบีบบังคับ หรือปล่อยให้สถานการณ์บางอย่าง เช่นช่วงลดราคาต้องเร่งซื้อ หรือการเดินทางไปต่างประเทศว่าอาจจะไม่ได้กลับมาอีก ซื้อไปเถอะ เงื่อนไขพวกนี้ทำให้ซื้ออย่างไม่คิด”

วิวรรณบอกว่า ทางแก้อย่างแรกคือมีสติให้มากที่สุด ก่อนจะซื้ออะไร ต้องคิดก่อนว่าจะจำเป็นมั้ย หรือซื้อแล้วจะได้ใช้งานหรือไม่ สำคัญที่สุด เมื่อรู้ว่ากิเลสมีเยอะต้องมีคนช่วยดึง เช่นกรณีของเธอจะมีสามีคอยดึง คือมีกฎว่าถ้าไม่กำจัดของเดิม ห้ามซื้อของใหม่เข้าบ้าน หากใครที่ไม่มีสามีหรือภรรยา จะใช้พี่น้องพ่อแม่หรือลูกคอยเหนี่ยวรั้งเวลาที่เรามีกิเลสมากไป

“ที่จริงมีอีกหลายวิธีที่จะกำจัดกิเลส เช่นการบริจาค เพราะกิเลสต้องแก้ด้วยการสละ หรือสำหรับคนที่รู้ตัวว่าชอบซื้อ แนะนำว่า ใช้วิธีซื้อฝากคนอื่น คือเราได้เลือกซื้อของอย่างที่เราชอบ แต่เป็นการซื้อฝากคนอื่น แบบนี้ เราก็ได้ช้อป และได้บำบัดการชอบชอปปิ้งของตัวเองด้วย แต่ต้องไม่ลืมว่าสติสำคัญที่สุดสำหรับคนกิเลสเยอะ”

วิวรรณสรุปว่า คนเราควรจะใช้เงินอย่างรู้คุณค่า และไม่สำคัญว่ารายได้จะมากหรือน้อย แต่เงินเดือนเท่าไหร่ก็รวยได้ รวยหรือจนต่างกันที่ คนรวยหาเงินได้มากกว่าที่ใช้ คนจนใช้มากกว่าที่หาได้ นอกจากนี้ ยังต้องเก็บออมเพิ่มขึ้น และเมื่อมีหนี้ต้องจ่ายก็ให้ชำระคืนหนี้ที่มีอัตรา[คำไม่พึงประสงค์]กเบี้ยสูงก่อน และเลือกซื้ออย่างฉลาด ใช้เงินให้เป็น นอกจากนี้ต้องประหยัด ไม่ได้แปลว่ากระเหม็ดกระแหม่ไม่ใช้เงิน แต่ใช้อย่างรู้คุณค่า

หวังว่าข้อคิดในการจัดการกิเลสจากกูรูการเงินทั้ง 4 ท่าน จะช่วยให้เห็นหนทางในการกำจัดกิเลสที่ซ่อนอยู่ในตัวเราทุกคน

เพียงเท่านี้ก็คงจะอนุมานได้ว่าเป็นเพราะอะไรถึงต้องตั้งหัวข้อเช่นนี้ เพราะเหตุนี้ถึงไม่ยอมก้มหัวให้กับคนรวยแต่ไม่มีธรรมงัย...อิอิ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Google