วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2552

หลักการดู"ส.ส.-ส.ว."คนใดไหว้แล้วเป็นมงคล

"ปูชา จ ปูชนียานัง เอตัมมังคลมุตตมัง" บูชาคนที่ควรบูชา เป็นมงคลสูงสุดข้อที่ 3 ในมงคล 38 ประการ คงจะได้ฟังกันเป็นประจำเวลาพระเจริญพระพุทธมนต์

สาเหตุที่ต้องยกพุทธภาษิตขึ้นมาเช่นนี้ก็เนื่องจากว่าเมื่อวันที่ 24 กันยายนที่ผ่านมามีการวิพากษ์วิจารณ์ในวงสนทนาของข้าราชการสภาผู้แทนราษฎรเนื่องจากมีหนังสือเวียนจากผู้อำนวยการสำนักบริหารกลาง กลุ่มงานบริหารงานบุคคล สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ไปยังหน่วยงานในสังกัดต่างๆ มีเนื้อหาระบุให้ข้าราชการสภาทุกคนต้องไหว้แสดงความเคารพต่อ ส.ส.ทุกครั้งที่พบ

ตามข้อสังเกตและข้อเสนอแนะคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2553 ต่างก็ไม่พอใจกับคำสั่งนี้และดังไปถึงหูสื่อมวลชนล่าสุดเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรก็ได้แจ้งว่าได้มีการยกเลิกคำสั่งนี้แล้ว

ตามปกติตามธรรมเนียมไทยแล้วเราก็ให้ความเคารพกับผู้ที่ควรเคารพอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นการยกมือไหว้ หลีกทางให้เป็นต้น อย่างน้อยๆก็เป็นการให้เกียรติ

แม้นว่าคำสั่งนั้นจะยกเลิกไปแล้วหรือจะชี้แจ้งว่าเป็นการเข้าใจคลาดเคลื่อนก็ตาม แต่ประเด็นที่ตามมาก็คือว่า ส.ส.คนใดลักษณะอย่างไรบ้างที่น่าไหว้น่าเคารพ ซึ่งส่วนใหญ่ก็พอจะรู้กันอยู่บ้าง

แต่ตามหลักพระพุทธศาสนาแล้ว การไหว้เคารพคนที่ควรเคารพนั้นถือว่าเป็นมงคงสู่สุดประการหนึ่งในมงคล 38 ประการ และเป็นมงคลข้อต้นๆด้วย

บุคคลที่ควรเคารพบูชาก็ได้แก่มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดา มารดา ครู อุปัชฌาย์อาจารย์ และท่านผู้มีอุปการแก่ตน ด้วยบูชา 2 ประการคือ

1. อามิสบูชาได้แก่การให้วัตถุต่างๆ มีดอกไม้ธูปเทียนของหอม และข้าวน้ำผ้านุ่ง ผ้าห่ม ยารักษาโรค ที่อยู่อาศัย ปัจจัยลาภทั้งหลาย พร้อมเครื่องใช้ไม้สอยที่จำเป็น เป็นต้นขุดสระบ่อ และทำถนน สร้างพุทธรูป สถูปเจดีย์ เป็นต้น

2. ปฏิบัติบูชาได้แก่การปฏิบัติตามคำสั่งสอน เชื่อถ้อยฟังคำ ทำตามจนเห็นผลประจักษ์แจ้งแก่ตนจนเชื่อใจ วางใจ เบาใจแก่ผู้รับการบูชา พร้อมผู้บูชาเอง

แต่ท่านจะสรรเสริญผู้ปฎิบัติบูชามากกว่าการบูชาด้วยอามิส

บุคคลที่ควรบูชาที่กล่าวมาข้างต้นนั้นก็มีความชัดเจนอยู่แล้วว่าน่าเคารพบูชา แล้วสำหรับ ส.ส.หละมีลักษณะอย่างไรถึงจะน่าเคารพ ก็มีการอธิบายไว้ว่าไม่ต้องไปหาหลักไกลก็ในมงคลข้อที่ 2 ที่ว่า ปัณฑิตานัญจะ เสวนา เอตัมมังคลมุตตมัง ก็คือไหว้คนที่เป็นบัณฑิตนั้นเอง แล้วบัณฑิตมีลักษณะอย่างไรหละท่านก็อภิบายไว้ในสัปุริสธรรม 7 ประการเช่นเป็นผู้รู้จักเหตุ ผล ตน ประมาณ กาล และที่สำคัญก็คือเป็นคนที่ตั้งอยู่ในธรรม ก็คือไม่เป็นคนอันธพาล ซึ่งตรงกับมงคลข้อแรกก็คือ อเสวนา จะ พาลานัง เอตัมมังคลมุตตมัง ไม่คบคนชั่วเป็นมงคลสู่สุดประการหนึ่ง

ก็พอจะมีหลักไปจับ ส.ส.หรือ ส.ว.หรือหละว่า คนไหนเป็นคนพาล และคนไหนเป็นบัณฑิต ประเภทที่ชอบแจกกล้วย พูดจากร้าวร้าว หยาบคาย มุ่งแต่ให้ฝ่ายตนชนะปากก็บอกว่าประชาธิปไตย โดยไม่ฟังเหตุฟังผลแบบนี้คงจะไม่น่าไหว้มั้ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Google