วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2554
วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554
วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554
วันพฤหัสบดีที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ยิ่งลักษณ์ยันกับเต็ง เส่งจะไม่ให้กลุ่มน้อยใช้ไทยต้านพม่า
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เข้าเยี่ยมคารวะนายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีเมียนมาร์ และหารือข้อราชการแบบเต็มคณะ ระหว่างการเดินทางเยือนสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์อย่างเป็นทางการ เพื่อสานต่อความร่วมมือที่มีอยู่ระหว่างสองประเทศ พร้อมกระชับความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
เมื่อเวลา 16.20 น.วันที่ 5 ต.ค. ตามเวลาท้องถิ่น ณ นครเนปิดอร์ ภายหลังการเข้าร่วมพิธีต้อนรับ นายกรัฐมนตรีได้เข้าเยี่ยมคารวะนายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีเมียนมาร์ และหารือข้อราชการเต็มคณะระหว่างไทยและเมียนมาร์ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความขอบคุณและประทับใจต่อการต้อนรับที่อบอุ่นและสมเกียรติ และแสดงความชื่นชมในพัฒนาการของเมียนมาร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยและความปรองดองในเมียนมาร์ โดยใช้โอกาสนี้เชิญประธานาธิบดี เต็ง เส่ง เยือนไทยอย่างเป็นทางการนายกรัฐมนตรีได้ย้ำนโยบายของไทยต่อเมียนมาร์ว่า ความมั่นคงและมั่งคั่งของเมียนมาร์ คือความมั่นคงและมั่งคั่งของไทย ซึ่งไทยยึดมั่นในนโยบายไม่ให้กลุ่มต่อต้านรัฐบาลเมียนมาร์ใช้ไทยเป็นฐานในการเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลเมียนมาร์ และไทยพร้อมส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือในทุกระดับและทุกมิติ เพื่อร่วมกันก้าวสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558
สำหรับประเด็นด้านความร่วมมือระหว่างไทย-เมียนมาร์นั้น ทั้งสองฝ่ายต่างยินดีที่จะส่งเสริมความร่วมมือในทุกมิติและทุกระดับ พร้อมสานต่อความร่วมมือระหว่างกันที่มีอยู่ และแสวงหาแนวทางพัฒนาความร่วมมือใหม่ ซึ่งในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีได้ขอความร่วมมือรัฐบาลเมียนมาร์ในการเปิดจุดผ่านแดนเมียวดี – อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งเมียนมาร์ปิดมาตั้งแต่ 18 ก.ค 2553 เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนทั้งการค้าและการไปมาหาสู่ระหว่างกัน ซึ่งประธานาธิบดีเมียนมาร์ยินดีที่จะเร่งเปิดจุดผ่านแดนดังกล่าว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการซ่อมแซมบริเวณตอหม้อสะพาน ทั้งนี้ รัฐบาลพม่ายืนยันจะเปิดจุดผ่านแดนเมียวดี - แม่สอดทันทีที่การซ่อมแซมเสร็จสิ้้น
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้สอบถามความคืบหน้าในการยกระดับด่านสิงขร เป็นจุดผ่านแดนถาวร เพื่อความสะดวกด้านการค้าและการขนส่ง โดยในการเยือนครั้งนี้ ไทยได้แสดงการสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเชื่อมโยงในอนุภูมิภาค ซึ่งไทยและเมียนมาร์ได้มีการแลกเปลี่ยนหนังสือลงนาม เรื่องการก่อสร้างถนนสายเชิงเขาตะนาวศรี – กอกะเร็ก การปรับปรุงถนนสายเมียวดี – เชิงเขาตะนาวศรี การซ่อมแซมถาวรสะพานมิตรภาพไทย – เมียนมาร์
ด้านการค้าการลงทุน ทั้งสองฝ่ายได้หารือเพื่อหาแนวทางเพิ่มพูนการค้าระหว่างไทย – เมียนมาร์ให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยอาจพิจารณาให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อสานต่อแนวทางและความร่วมมือต่อไป
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้ขอให้เมียนมาร์ช่วยผลักดันโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย นิคมอุตสาหกรรม และเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงทวาย – กาญจนบุรี ให้สำเร็จลุล่วงโดยเร็ว
ระหว่างการสนทนา มีการหารือเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาบริเวณชายแดน อาทิ ปัญหายาเสพติด ซึ่งไทยและเมียนมาร์ต่างกำหนดให้การแก้ปัญหาและการปราบปรามยาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ โดยสองฝ่ายต่างเห็นพ้องที่จะร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดทั้งการแลกเปลี่ยนข้อมูล การทำลายแหล่งผลิต การสกัดกั้นการลำเลียงข้ามพรมแดน
สำหรับความร่วมมือด้านแรงงานเมียนมาร์ นายกรัฐมนตรียืนยันว่าไทยจะดูแลแรงงานเมียนมาร์ให้ได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม และจะเร่งรัดกระบวนการพิสูจน์สัญชาติให้เสร็จตามที่กำหนดไว้คือ 28 ก.พ 2555 นอกจากนี้ ไทยจะให้ความร่วมมือในการดูแลผู้หนีภัยการสู้รบที่มีจำนวนกว่า 100,000 คนตามหลักมนุษยธรรม และจัดฝึกอาชีพที่จำเป็น เพื่อกลับประเทศอย่างมีศักดิ์ศรีและปลอดภัย
นอกจากนี้ ไทยได้ส่งมอบอุปกรณ์พื้นฐานด้านอุตุนิยมวิทยา มูลค่า 40 ล้านบาท ระหว่างการเดินทางเยือนเมียนมาร์ครั้งนี้ด้วย
โดยภายหลังการหารือ นายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีพม่าได้เข้าร่วมพิธีมอบอุปกรณ์พื้นฐานด้านอุตุนิยมวิทยาตามแผนงานด้านการพัฒนาศักยภาพด้านการพยากรณ์อากาศ ระบบเตือนภัย และการฟื้นฟูพื้นที่ในภาคอิรวดีและภาคย่างกุ้ง ก่อนการร่วมกันเป็นสักขีพยานในพิธีแลกเปลี่ยนหนังสือลงนามเรื่องการก่อสร้างถนนสายเชิงเขาตะนาวศรี – กอกะเร็ก การปรับปรุงถนนสายเมียวดี – เชิงเขาตะนาวศรีและการซ่อมแซมถาวรสะพานมิตรภาพไทย – เมียนมาร์ ซึ่งลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยและเมียนมาร์
(ที่มา-http://www.thaigov.go.th)
กองทัพพม่าส่งกำลังทหารเข้าประจำในรัฐฉานกว่า200กองพัน
ขณะที่การเคลื่อนไหวในประเทศพม่า เว็บไซต์Khonkhurtai ซึ่งเป็นสำนักข่าวของชาวไทยใหญ่ในรัฐฉานประเทศพม่าได้รายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ กลุ่มเครือข่ายเพื่อประชาธิปไตยและการพัฒนา (Network for Democracy and Development – NDD) ซึ่งเป็นกลุ่มต่อต้านรัฐบาลทหารพม่า ได้เผยแพร่หนังสือรายงานผลการวิจัยเกี่ยวกับการทหารกองทัพพม่ารวมถึงรายละเอียดพรรคสหภาพเอกภาพและการพัฒนา USDP ที่อยู่ภายใต้การสนับสนุนของกองทัพและชนะการเลือกตั้งครั้งประวัติศาสตร์เมื่อปลายปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ หนังสือรายงานฉบับดังกล่าว ซึ่งมีชื่อว่า “การบริหารด้านพลเรือนและกำลังทหารในพม่า” (Civil and Military Administrative Echelon) มีความหนา 450 หน้า ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับที่ตั้งกองทัพภาค ที่ตั้งกองพล และกองพัน รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกองทัพพม่าที่ประจำอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ
เฉพาะในรัฐฉาน ซึ่งมีพรมแดนติดกับประเทศจีน ไทย และลาว มีกำลังทหารพม่าหน่วยต่างๆ เข้าประจำการมากกว่า 200 กองพัน และยังเป็นที่ตั้งกองบัญชาการกองทัพภาคถึง 4 กองทัพภาค ได้แก่ กองทัพภาคตะวันออก มีบก.อยู่ที่เมืองตองจี (รัฐฉานภาคใต้) กองทัพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีบก.อยู่ที่เมืองล่าเสี้ยว (รัฐฉานภาคเหนือ) กองทัพภาคสามเหลี่ยม มีบก.อยู่ที่เมืองเชียงตุง (รัฐฉานภาคตะวันออก) และกองทัพภาคตะวันออกกลาง (เพิ่งตั้งใหม่) มีบก.อยู่ที่เมืองกาลิ โขหลำ (รัฐฉานตอนกลาง)
โดยกองทัพภาคตะวันออก มีกำลังทหารในสังกัด 50 กองพัน แบ่งเป็นกองพันทหารราบ 19 กองพัน กองพันทหารราบเบา 31 กองพัน โดยประจำการอยู่ในรัฐคะยาห์ 10 กองพัน ที่เหลือ 40 กองพันอยู่ในรัฐฉาน ส่วนกองทัพภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีกำลังทหาร 47 กองพัน เป็นกองพันทหารราบ 27 กองพัน กองพันทหารราบเบา 20 กองพัน
กองทัพภาคสามเหลี่ยม (เชียงตุง) มีกำลังทหาร 39 กองพัน แบ่งเป็นกองพันทหารราบ 14 กองพัน และกองพันทหารราบเบา 25 กองพัน ในส่วนของกองทัพภาคตะวันออกกลาง ซึ่งเป็นกองทัพภาคตั้งขึ้นใหม่มีกำลังพลในสังกัด 26 กองพัน เป็นกองพันทหารราบ 16 กองพัน และกองพันทหารราบเบา 10 กองพัน โดยกำลังพลในแต่ละกองพันโดยเฉลี่ยมีประมาณ 200 นาย
นอกจากนี้ ในรัฐฉานยังมีกำลังพลหน่วยต่างๆ ของกองทัพพม่าประจำอีกนับสิบกองพัน เช่น กองพันป้องกันภัยทางอากาศมี 8 กองพัน กองพันรถถัง 4 กองพัน กองพันยานยนต์หุ้มเกราะ 3 กองพัน กองพันทหารช่าง 5 กองพัน กองพันปืนใหญ่ 39 กองพัน กองพันขีปนาวุธ 2 กองพัน และกองพันสื่อสาร 5 กองพัน ซึ่งรวมกำลังพลแล้วมีมากถึง 217 กองพัน ทั้งนี้ ยังไม่นับรวมกำลังพลจากกองกำลังหน่วยพิทักษ์ชายแดน BGF ซึ่งเป็นกองกำลังจากกลุ่มชาติพันธุ์ที่รัฐบาลให้การสนับสนุนซึ่งปัจจุบันมีอยู่ 5 กองพัน
ทั้งนี้ รัฐฉานถือเป็นรัฐยุทธศาสตร์สำคัญของรัฐบาลทหารพม่า เนื่องจากเป็นรัฐมีพื้นที่ใหญ่สุดและมีกองกำลังติดอาวุธมากที่สุด ที่สำคัญมีพรมแดนติดกับประเทศไทย ลาว และจีน ที่เปรียบเสมือนพี่เลี้ยงใหญ่ของพม่า จากการที่มีกำลังทหารเข้าประจำการเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดปัญหาการละเมิดสิทธิประชาชน ทั้งการบังคับใช้แรงงาน เกณฑ์ลูกหาบ เกณฑ์ยานพาหนะ การบังคับโยกย้ายหมู่บ้าน ตลอดจนการปล้นสะดม รวมถึงการละเมิดทางเพศอย่างต่อเนื่อง
ตามรายงานของมูลนิธิสิทธิมนุษยชนไทใหญ่ SHRF (Shan Human Rights Foundation) และกลุ่มเครือข่ายปฏิบัติงานเพื่อสตรีไทใหญ่ SWAN (Shan Woman's Action Network) ระบุว่า ระหว่างปี 2539-2544 เกิดเหตุทารุณกรรมทางเพศเด็กและสตรีในรัฐฉานจากการกระทำของทหารพม่าถึง 173 เหตุการณ์ มีสตรีตกเป็นเหยื่อ 625 คน ทั้งหมดถูกทารุณกรรมทางเพศโดยทหารพม่าทั้งระดับประทวนและชั้นสัญญาบัตร ขณะที่รายงานหนังสือ "ผู้ถูกช่วงชิง" จากมูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งรัฐฉาน SHRF ระบุ ระหว่างปี 2539 - 2540 กองทัพพม่าได้ใช้ยุทธการตัดสี่ (4 cuts) ต่อกลุ่มต่อต้าน โดยสั่งบังคับโยกย้ายหมู่บ้านกว่า 1,400 แห่งในหลายอำเภอในรัฐฉานภาคใต้ มีชาวบ้านกว่า 3 แสนคนไร้ที่อยู่อาศัยและส่วนใหญ่ได้อพยพเข้าประเทศไทย
สำหรับกลุ่มเครือข่ายเพื่อประชาธิปไตยและการพัฒนา (Network for Democracy and Development – NDD) ได้ทำวิจัยด้านการทหารของกองทัพพม่ามาจัดพิมพ์เป็นหนังสือรายเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมาเป็นการรายงานเฉพาะด้านการทหาร แต่ฉบับล่าสุดมีเพิ่มข้อมูลเกี่ยวกับรายละเอียดสมาชิกและการบริหารของพรรค USDP ที่ชนะการเลือกตั้งและกำลังบริหารประเทศภายใต้การนำของประธานาธิบดี เต็งเส่ง อยู่ในขณะนี้ด้วย
เพลง “สาวไทคำตี้”พร้อมเนื้อจากนายช่างปลูกเรือน
เพลง “สาวไทคำตี้”
สาวไทคำตี้ คิดให้ดี ๆ (สาว-ไตคำตี-ขอื้-จอื-นี-นี)
พ่อแม่เธอนั้น ไทคำตี้ (โป-เม-มอื-ไน่-ไตคำตี)
บรรพบุรุษ พ่อแม่เธอทั้งหมด ไทคำตี้ (ปู่เลน-ยาเลน-โปเม-มอื-ตังเมิง ไตคำตี)
แล้วทำไม เธอ ผู้เดียว (ลาย-เปอ-สัง-มอื-โก้-เลิง)
เสื้อผ้าไทเรา เธอก็ไม่อยากนุ่ง (เคิง-ไต-เฮา-ก็-มอื-ค่าน-นุง)
ภาษาไทเรานี้ เธอพูดไม่เป็น (คาม-ไต-เฮา-ไน่-มอื-ต้าน-เหม่า-จาง)
เรียนวิชาความรู้มากมาย (สอน-ขา-ตาง-จาง-ปิ่ง-หญ่า-กุ่ม)
ก้าวหน้า เงินทองมีครบถ้วน (ขึ้น-สูง-งืน-คำ-มี-ตัง-กุ่ม)
สิ่งที่พ่อแม่สั่งสอน (ลอง-อัน-โป-เม-สอน-แหฺน )
ไม่เชื่อฟังคำ สักนิด (เหม่า-เยิง-จอม-คาม-กำ-เลิง)
เธอแต่งงานกับคนอื่น (มอื-เปน-ก้า-พัน-เปิน )
ลูกหลาน ออกมาเป็นเชื้อสายอื่น (ลูก-หลาน-ยัง-มา-พัน-กน-เปิน)
คนเชื้อสายเรา คำตี้ เอา หายสิ้น (โห-กน-พัน-เฮา-คำตี-เอา-หาย-เจิ้ม)
ใจรัก เครือไทคำตี้ อย่างแท้จริง (จอื-ฮัก-เคอ-ไตคำตี-สอื-นอื-จอื)
เลือดแดงไหลไปทั่วทั้งร่าง (เนิต-แนง-พ่ด-โห่-มอื-ตัง-โต)
พี่น้องสาวไทคำตี้ ( ปี-น่อง-สาว-ไตคำตี)
แต่งงานกับเชื้อสายคำตี้ ( เอา-โผ-พัน-คำตี)
ทางนี้ เชื้อสายคำตี้ มีมาก (ตาง-นี่-หนำ-หลาย-พัน-คำตี)
การเรียงคำ แบบ ประธาน - กรรม - กริยา ของภาษาไทคำตี้ นั้น ยังหาไม่พบครับ
แต่ไปพบ ในเอกสาร(อัดสำเนา) "การศึกษาอักษรและ้เอกสารโบราณของไท"
ของ รศ.เรณู วิชาศิลป์ ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มช. (๒๕๔๙)
ว่า การเรียงคำ ในภาษาอัสสัม มีอิทธิพลต่อภาษาไทอาหม คือ
๑. เรียงคำขยายไว้หน้าคำนาม เช่น ถึกมะ (ม้าถึก), นังรู (รูจมูก), ตังลุงไข (ไข่ทั้งหลาย),
กุนนือ (เนื้อคน), ผาจิตผูตือ (ผู้ถือผ้าเช็ด), กุลาวัน (วันแบบกุลา)
๒. เรียง ประธาน - กรรม - กริยา แบบอัสสัม หรือ ฮินดู เช่น
กาพร่อง กุนนือ หุงกิน (บางคน หุงเนื้อคนกิน)
ควาย ฆ่า หุงกิน (ฆ่า ควาย กิน)
๓. เรียงคำบอกเวลา สถานที่ ไว้หน้าหรือหลังประธาน เช่น
มัน ตีกาต ไข ไขไก (มัน ที่ตลาด ขายไข่ไก่ - มันขายไข่ไก่ที่ตลาด)
หมายเหตุ - เอกสารในยุคแรก ก็เขียนเหมือนภาษาไท อื่น ๆ ตามปกติ
(หมายเหตุ -โพสต์ในpantip.com)
วันอังคารที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554
วันจันทร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2554
วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2554
วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554
ยิ่งลักษณ์รู้แต่หญ้าแพรกไม่รู้จักหญ้าแฝก
หญ้าแพรกเป็นหญ้าที่รู้จักกันมานานแล้ว จนกระทั่งถือว่า เป็นสัญลักษณะ ในพิธีไหว้ครู ซึ่งหญ้าแพรกนี้หมายถึง ความแตกแขนงของปัญญา ดุจการเจริญเติบโตแตก แขนงของหญ้ากับ นักเรียน ด้วยการ ที่เรารู้จัก หญ้าแพรกกันนาน ทำให้มองข้ามไปว่า หญ้าชนิดนี้ ก็สามารถนำมาปลูกเป็นสนามได้
ขณะที่หญ้าแฝกเป็นพืชที่มีระบบรากลึก แผ่กระจายลงไปในดินตรง ๆ เป็นแผงเหมือนกำแพง ช่วยกรองตะกอนดินและรักษาหน้าดินได้ดี จึงควรนำมาศึกษาทด ลองปลูก ให้ทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่อป้องกันการพังทลายของดินในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาและพื้นที่อื่น ๆ ที่เหมาะสมอย่างกว้างขวาง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)