วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ศิริพงษ์ฆ่าแม่หั่นศพลูกหนาวศาลฎีกายืนประหาร"ชลอ"

เมื่อวันที่ 16 ต.ค. เป็นวันหวยออก ขณะเดียวกันก็เป็นวันที่ศาลฎีกาตัดสินลงโทษประหารชีวิต พล.ต.ท.ชลอ เกิดเทศ อดีตผู้บัญชาการประจำกรมตำรวจ คดีอุ้มฆ่าแม่ลูกศรีธนขันธ์ ยืนตามศาลอุทธรณ์ นับได้ว่าเป็นวันสิ้นสุดของคดีนี้ที่ยืดยาวมานานกว่า 10 ปี ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเพชรซาอุฯในฐานะผู้จ้างวานฆ่าด้วยพฤติการณ์อุบัติเหตุทางรถ

รูปคดีนั้นถือได้ว่ามีส่วนคล้ายกับคดีฆ่าแม่หั่นศพลูกที่ผู้ก่อเหตุคือนายศิริพงษ์ กาญจนนิวิฐ คนขับแท็กซี่ ที่เข้ามอบตัวฆ่านางสุนันท์ ศรีสุวรรณ (มาคิโน) อายุ 38 ปี ทิ้งศพย่านวงแหวนตะวันตก และหั่นศพ ด.ช.โช มาคิโน บุตรชายของนางสุนันท์ และด.ญ.พิชญา จงงามวิลัย หรือน้องมินท์ อายุ 13 ปี บุตรสาวของนางสุนันท์ได้รับบาดเจ็บ ซึ่งตำรวจกำลังสืบสวนอยู่ขณะนี้ว่าจะขยายความไปได้มากน้อยเพียงใด

เบื้องต้นสรุปก่อเหตุประสงค์ต่อทรัพย์เพราะผู้ต้องหามีหนี้สินมากมายเพราะของนางสุนันท์หายไปหลายรายการหลังจากก่อเหตุและตำรวจก็ติดตามได้มาบ้างแล้ว
จากรูปของคดีก็คือจะอนุมานได้ว่าผลของการตัดสินจะออกมาอย่างไรก็คงมีสถานเดียวคือประหารชีวิต ก็เชื่อว่านายศิริพงษ์ก็คงจะรู้ชะตากรรมแล้วว่าจะเป็นอย่างไรดังนั้นก็เหลือแต่เพียงลมหายใจที่มีอยู่

หากปล่อยให้อกุศลจิตครอบงำก็มีอย่างเพียงคือนรกเป็นที่หวังทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ ก็คงทำตามที่แม่ของนายศิริพงษ์แนะนำคือนั่งสมาธิให้จิตสงบก็คงทำให้ชีวิตมีความสุขบ้างและสิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือว่านายศิริพงษ์จะทนต่อภาวจิตที่เป็นทุกข์ไม่ไหวปลิดชีวิตตัวเองเสียก่อน แทนที่จะได้ทำความดีชดใช้ความชั่วที่ทำไปแล้ว ก็มีแต่จะไปชดใช้กรรมในนรกเท่านั้น ทั้งนั้นพระท่านถึงได้สติคือคุณธรรมค้ำจุนโลกหากมีสติบ้างก็คงไม่ก่อเหตุเช่นนี้

พระพุทธองค์ได้ตรัสโทษของความโกรธไว้ว่า “.....คนผู้โกรธ ถูกความโกรธครอบงำย่ำยีแล้ว แม้จะอาบน้ำ ไล้ทา ตัดผม โกนหนวด นุ่งผ้าขาวสะอาดแล้วกตาม... ย่อมเป็นผู้มีผิวพรรณทราม นอนเป็นทุกข์ มีแต่เสื่อมสถานเดียว มิตร อมาตย์ ญาติสายโลหิต ย่อมห่างไกล เมื่อตายไปย่อมเข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาตนรก"

ที่นี้จะแก้โกรธอย่างไรท่านก็แนะนำให้ นึกถึงผลเสียของความเป็นคนมักโกรธ พิจารณาโทษของความโกรธ นึกถึงความดีของคนที่เราโกรธ พิจารณาว่าความโกรธ คือการสร้างทุกข์ให้ตัวเอง พิจารณาความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน พิจารณาพระจริยาวัตรในปางก่อนของพระพุทธเจ้า พิจารณาความเคยเกี่ยวข้องกันในสังสารวัฏ พิจารณาอานิสงค์ของเมตตา พิจารณาโดยวิธีแยกธาตุ และปฏิบัติทาน คือ การให้หรือการแบ่งปันสิ่งของ

ก็ลองปฏิบัติดูลองปฏิบัติดูก็แล้วกันหากไม่ลองปฏิบัติแล้วเมื่อเกิดความโกรธแล้วจะแก้ไม่ทัน ก็เหมือนกระบี่ไม่มั่นลับแล้วจะคมได้อย่างไร เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Google