วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ปลอกเปลือกคนชื่อทักษิณแก้จนเขมรได้จริงหรือ

การบรรยายในหัวข้อ"ยุทธศาสตร์ในการต่อสู้กับวิกฤติการเงินและเศรษฐกิจ"ที่กระทรวงเศรษฐกิจและการคลังของประเทศกัมพูชาวันที่ 12 พ.ย. ของคนชื่อทักษิณ นับเป็นการทำหน้าที่ครั้งแรกในตำแหน่งที่ปรึกษา"ฮุนเซน" อย่างเป็นทางการท่ามกลางกระแสความขัดแย้งกับไทยเหตุ "ฮุนเซน" ประกาศจะไม่ส่ง"ทักษิณ"ให้ไทยในฐานผู้ร้ายข้ามแดนเหตุหนีคุกในคดีอาญา

เนื้อหาที่ "ทักษิณ" บรรยายเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหายากจนในชนบท นโยบายประกันสุขภาพ การศึกษา พร้อมเสนอแนะให้มีการแก้ไขกฎหมายเอื้อต่อการลงทุน และส่งเสริมการท่องเที่ยว

แต่เป็นที่น่าสังเกตุว่าในเนื้อหาการบรรยายของ "ทักษิณ" เกี่ยวกับการแก้ปัญหาความยากจนนั้น ไม่มีคำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" หลุดออกจากปากเลย ทั้งๆเคยโฆษณาไว้ตอนแถลงข่าวกับ "ฮุนเซน" และการกล่าวต่อหน้านี้หลายครั้งจะนำ "เศรษฐกิจพอเพียง" แก้ปัญหาความยากจนของชาวเขมรในตำแหน่งที่ปรึกษา "ฮุนเซน"

จึงมีจุดฉุกคิดว่าแล้วคำพูดที่ "ทักษิณ" ประกาศไว้ว่าจะช่วยปัญหาความยากจนให้กับชาวเขมรรวมถึงคนไทยที่เคยประกาศมาตลาดจากเดิมประกาศไว้จะทำให้คนไทยหายจนภายในปี 2552 แต่ก็มาแก้ต่างว่าถูกยึดอำนาจเสียก่อนในหนังสือ "คนไทยหายจน (เสียดาย..ถูกปล้นเสียก่อน)” ซึ่งเป็นการแปลจากหนังสือ “Tackling Poverty” ของ พ.ต.ท.ทักษิณ เรียบเรียงเป็นภาษาอังกฤษ โดย Anil Bhoyrul

เป็นหนังสือที่บรรจุเนื้อหาหลักๆเกี่ยวกับ กองทุนหมู่บ้าน, โอท็อป, เอสเอ็มอี, 30 บาทรักษาทุกโรค, การล้างอิทธิพลมาเฟีย, ปราบปรามยาเสพติด, แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ, การออกหวยบนดินปราบหวยใต้ดิน, การปฏิรูปการศึกษา รวมถึงการเปลี่ยนแปลงการบริหารรัฐบาล จัดการแบบซีอีโอ(CEO) ฯลฯ ที่เกิดขึ้น ในยุคที่เขาเป็นผู้นำประเทศ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้คนไทยหายจนได้ในปี 2552 แต่ก็ถูกยึดอำนาจเสียก่อน ซึ่งก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับ "เศรษฐกิจพอเพียง" เหมือนเดิม

จึงทำให้เกิดสงสัย(วิจิกิจฉา) ว่าสิ่งที่ "ทักษิณ" โฆษณากับชาวเขมรและคนไทยจะเป็นจริงหรือไม่หรือว่า "แก้ปัญหาความยากจน"จะเป็นเพียงโฆษณาชวนเชื่อโดยมีเป้าหมายเพื่อประโยชน์ตัวเองเป็นสำคัญ ของนักการเมืองที่ไม่สามารถแก้ได้จริง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Google