วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
งาน90ปีพล.อ.ชาติชายชวนเที่ยวบางนกแขวก
จัดอย่างยิ่งใหญ่สำหรับงาน "90 ปี พลเอกชาติชาย รำลึก…เอกบุรุษ ชาติอาชาไนย Tomorrow Never Dies" ณ ห้องบางกอก คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ เอ 1 ชั้น 22 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ (ถ.พระราม 1) เมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2554 เนื่องในวันคล้ายวันถึงแก่อสัญกรรมของ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรี ภายใต้การนำของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ ในฐานะประธานการจัดงานและนายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ประธานมูลนิธิ พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ
"หากท่านยังมีชีวิตอยู่ ปีนี้เป็นปีที่ พล.อ.ชาติชาย จะมีอายุครบรอบ 90 ปี จึงมีแนวคิดจัดงานครั้งนี้ขึ้น เนื่องจาก พล.อ.ชาติชาย เป็นบุคคลสำคัญต่อประวัติศาสตร์ การเมือง และเศรษฐกิจของประเทศไทย" นายสุวัจน์ชี้แจง
ประวัติพล.อ.ชาติชาย
หากพลิกปูมประวัติของพล.อ.ชาติชาย เกิด 5 เมษายน 2465 ณ ตำบลพลับพลาไชย จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของจอมพลผิน ชุณหะวัณ กับคุณหญิงวิบูลย์ลักษม์ ชุณหะวัณ และน้อยคนนักจะรู้ว่าท่านนั้นเดิมชื่อ"สมบูรณ์ ชุณหะวัณ"
พล.อ.ชาติชาย เข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า โรงเรียนนายทหารม้า และโรงเรียนยานเกราะกองทัพบก (อาร์เมอร์สคูล) มลรัฐเคนทักกี สหรัฐอเมริกา
เนื่องจากจอมพลผินบิดาได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์การเมืองไทยตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองและได้ร่วมในการรัฐประหารในปี พ.ศ.2490 และในปี พ.ศ.2494 ส่งผลให้พล.อ.ชาติชายต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการรัฐประหารขณะมียศเพียงแค่ร้อยตรีและร้อยเอกเท่านั้น หลังจากนั้นได้ถูกแต่งตั้งให้ไปเป็นทูตหลายประเทศ
เมื่อกลับประเทศไทยก็ได้ออกมาเล่นการเมืองเต็มตัว เป็นร่วมผู้ก่อตั้งพรรคการเมือง 2 พรรค และได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค คือ
พรรคชาติไทย และ พรรคชาติพัฒนา จนสามารถดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 เป็นรัฐบาลที่มีผล
งานจนมีชื่อเรียกที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือ นโยบาย "เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า"
และมีชื่อที่เรียกเป็นที่รู้จักทั่วไปว่า "น้าชาติ" มีคำพูดติดปากเมื่อให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า "No Problem" หมายถึง "ไม่มีปัญหา" จนเป็นที่จดจำได้ทั่วไป ซึ่งศิลปินเพลงแอ๊ด คาราบาว ได้นำไปประพันธ์เป็นเพลงล้อการเมืองชื่อ "โนพลอม แพลม"และได้บริหารประเทศจนถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 และถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2541
พล.อ.ชาติชายสมรสกับท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัณ (สกุลเดิม โสพจน์) มีบุตรชายคือ นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ อดีตสมาชิกวุฒิสภา ส.ส.สัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ และบุตรสาวคือ วาณี ชุณหะวัณ (อดีตภริยานายระวี หงษ์ประภาส มีบุตรสาวชื่อ ปวีณา หงส์ประภาส)
ประวัติจอมพลผิน
หลายคนคงจะเข้าใจกันว่าต้นตระกูล "ชุณหะวัณ" เป็นคนเมืองกรุงคนซอยราชครู แต่มีน้อยคนเช่นกันจะรู้ว่าความจริงแล้วต้นตระกูลเป็นคนบางนกแขวก อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม เนื่องจากจอมพลผินพ่อของพล.อ.ชาติชาตินั้นเกิดที่ตำบลบางนกแขวก เป็นบุตรของนายไข่ และ นางพลับ ชุณหะวัณ ชาวสวนและแพทย์แผนโบราณ ที่มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 8 คน ดูจากอาชีพของแม่ของจอมพลผินแล้วพ่ออนุมานได้ว่าเป็นคนพื้นที่บางนกแขวกโดยแท้หรือจะเป็นคนพื้นที่ใดน่าตามหาข้อมูลต่อไป
จอมพลผินได้รับการศึกษาชั้นต้นตามแบบเด็กชายไทยสมัยก่อน คือเรียนกับพระที่วัดโพธิ์งามที่อยู่ใกล้บ้านและกลายเป็นวัดประจำตระกูล วัดใหม่สี่หมื่น อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี วัดมหรรณพาราม วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ต้องฟันฝ่าอุปสรรคนานาจนได้เข้าเรียนในโรงเรียนนายสิบทหารบก กรมทหารที่ 4 จังหวัดราชบุรี เมื่อมีอายุได้ 16 ปีเท่านั้น
จอมพลผินมื่อจบหลักสูตรสามารถสอบไล่ได้คะแนนดีเยี่ยม จึงได้เลื่อนขั้นไปศึกษาต่อในโรงเรียนนายร้อยทหารบกจนจบ และได้พระราชทานยศเป็นนายร้อยตรี ประจำกรมทหารราบที่ 4 ราชบุรี หลังจากนั้นได้เข้าเรียนโรงเรียนเสนาธิการทหารบก เมื่ออายุ 37 ปีได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงชำนาญยุทธศาสตร์" และ พ.ศ. 2472 ได้เลื่อนยศเป็นพันตรี
แม้จอมพลผินจะกราบถวายบังคมลาออกจากบรรดาศักดิ์เมื่อ พ.ศ. 2485 แต่ก็ยังรับราชการสืบมาจนได้เป็นผู้บัญชาการทหารบก และได้นำการรัฐประหารยึดอำนาจนายกรัฐมนตรี พล.ร.ต.ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ พ.ศ. 2490 ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเช่นเป็นรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร 2 สมัย ใน พ.ศ. 2496 และ
พ.ศ.2500
วิถีชีวิตของจอมพลผินนั้นนายปองพล อดิเรกสารหลานชายได้นำมาเขียนเป็นหนังสือชื่อ "ทหารชื่อผิน จากพลทหาร...สู่จอมพล" ได้เกริ่นไว้ว่า "ลูกชาวสวนบางนกแขวก จังหวัดสมทุรสงคราม ซึ่งเป็นคนเดียวในประวัติศาสตร์กองทัพไทยที่เริ่มชีวิตทหารจากยศต่ำสุดคือพลทหารไต่เต้าตามลำดับจนได้รับยศสูงสุดเป้นถึงจอมพล"
จอมพลผินสมรสกับคุณหญิงวิบุลลักสม์ ชุณหะวัณ (พ.ศ. 2440 - พ.ศ. 2497) มีบุตร-ธิดา 5 คน คือ คุณหญิงอุดมลักษณ์
ศรียานนท์ (พ.ศ. 2456 -) สมรสกับ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ นางพร้อม ทัพพะรังสี (พ.ศ. 2458 - พ.ศ. 2542) สมรสกับ นายอรุณ ทัพพะรังสี เป็นมารดาของนายกร ทัพพะรังสี ท่านผู้หญิงเจริญ อดิเรกสาร (22 มกราคม พ.ศ. 2460 - )
สมรสกับ พล.ต.อ.ประมาณ อดิเรกสาร พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ (พ.ศ. 2463 - พ.ศ. 2541) สมรสกับ ท่านผู้หญิงบุญ
เรือน ชุณหะวัณ พูนสุข ชุณหะวัณ (พ.ศ. 2465 - ) และได้สมรสครั้งที่สองกับ นางสุภาพ ชุณหะวัณ มีบุตร 1 คน คือ นาย
ปรากรมศักดิ์ ชุณหะวัณ และเมื่อวันศุกร์ที่ 26 มกราคม 2516 จอมพลผินถึงแก่อสัญกรรมที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เมื่ออายุได้ 82 ปี 3 เดือน 13 วัน
ผลงานของจอมพลผินในพื้นที่บางนกแขวก
จอมพลผินและคนในตระกูล"ชุณหะวัณ" ได้ทนุทำรุงวัดโพธิ์งาม หมู่ที่ 2 ตำบลบางนกแขวก อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม ที่มีเจดีย์ใหญ่บรรจุอัฐิของบรรพบุรุษตระกูลชุณหะวันอยู่ที่วัดให้เป็นวัดประจำตระกูล สานต่อจากบิดาจนได้รับการยกย่องจากกรมศาสนาให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างประจำอำเภอบางคนที วัดโพธิ์งามแห่งนี้เป็นวัดที่สวยงามวัดหนึ่งในลำน้ำแม่กลอง สมัยหนึ่ง เมื่อพ.ศ.2467 ระหว่างวันที่ 21-24 เมษายน 2467 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จฯโดยทางเรือและได้ประทับแรมที่วัดนี้ด้วย
นอกจากนี้ยังทนุทำรุงวัวัดเจริญสุขารามวรวิหาร จนได้รับการยกย่องเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง เมื่อพ.ศ.2514 สร้างโรงเรียนเมธี หากใครไปเที่ยวบางนกแขวกจะได้พบผลของจอมพลผินมากหมาย ทั้งนี้เพราะจอมพลผินนับได้ว่าเป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงของชาวสมุทรสงครามบุคคลหนึ่ง
ประวัติโบสถ์แม่พระบังเกิด
นอกจากบางนกแขวกจำเป็นถิ่นกำเนิดของจอมพลผินที่น่าสนใจแล้ว ผู้ที่ไปเที่ยวบางนกแขวกนอกจากได้พบสถานที่ที่เกี่ยวกับวิถีพุทธแล้วยังจะได้พบวิถีคริสต์ด้วยอย่างเช่นโบสถ์แม่พระบังเกิดหรือ"อาสนวิหารแม่พระบังเกิด" ที่ชาวบ้านเรียกว่า "โบสถ์บางนกแขวก" เป็นโบสถ์คริสต์เก่าแก่อายุกว่า 100 ปี ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำแม่กลอง มีทัศนียภาพสวยงาม โดยเฉพาะช่วงเช้าหรือช่วงเย็นจะมีความงามเป็นพิเศษ ตั้งอยู่ที่หมู่ 7 ต.บางนกแขวก
ทั้งนี้มีความเป็นมาว่า เมื่อปี พ.ศ. 2390 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว บรรดาสัตบุรุษได้ช่วยกันสร้างโบสถ์ขึ้นในที่
ดินของฟรังซิสโก ไล้ ชาวจีนที่ศรัทธาในศาสนาคริสต์ เมื่อแรกสร้างโบสถ์เป็นเรือนไม้ หลังคามุงจาก ตั้งชื่อตามสีแดงที่ทาโบสถ์ว่า "วัดศาลาแดง" บางคนก็เรียก "วัดรางยาว" ตามชื่อคลองส่งน้ำของชลประทานซึ่งอยู่บริวเวณวัดที่ชาวจีนขุดต่อกับแม่น้ำแม่กลองเพื่อนำ น้ำมาทำสวนผัก ขณะนั้นมีสัตบุรุษประมาณ 200 คน เมื่อจำนวนสัตบุรุษเพิ่มมากขึ้นจึงย้ายโบสถ์มาอยู่ที่ปากคลองดำเนินสะดวกในปี พ.ศ.2393 ตั้งชื่อใหม่ว่า "วัดแม่พระบังเกิด" เนื่องจากทำเลดี มีคลองดำเนินสะดวกเป็นเส้นทางคมนาคมทางน้ำที่สำคัญติดต่อกับกรุงเทพฯได้สะดวก
ในปี พ.ศ. 2433 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บาทหลวงเปาโลซัลมอน มิชชันนารี หรือคุณพ่อเจ้าอาวาส ได้สร้างโบสถ์หลังปัจจุบันขึ้น โดยได้รับสนับสนุนทั้งจากฝรั่งเศส และคณะมิสซังในปารีสกรุงโรมของประเทศอิตาลี่ รวมทั้งสัตบุรุษในกรุงเทพฯ ส่วนวัสดุของวัดหลังเก่าได้ถูกนำไปสร้างไว้ที่คลองขวางล่าง โดยมีนามชื่อว่า "วัดพระแม่องค์อุปถัมภ์" หรือที่ชาวบ้าน เรียกว่า "วัดใน"
ทั้งนี้เพราะอาสนวิหารแม่พระบังเกิดเคยเป็นศูนย์กลางของชาวคริสต์ นิกายคาทอลิกภาคตะวันตกและภาคใต้ ดังนั้นจึงมีการตกแต่งโบสถ์อย่างวิจิตรสวยงามกว่าโบสถ์ของนิกายอื่นอย่าง โปรเตสแตนต์ โบสถ์มีขนาดใหญ่ตกแต่งด้วยสถาปัตยกรรมแบบกอทิก (Gothic) มียอดแหลมของอาคารพุ่งขึ้นไปบนฟ้า ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบนี้
ภายในเป็นห้องโถงกว้างขวางประดับด้วยภาพเขียน กระจกสี (Stained Glass) จากฝรั่งเศส แต่ละมุมประดับด้วยรูปปั้นสีทองอร่ามองค์พระเยซูและรูปของนักบุญสำคัญต่างๆ ที่ดูมีเอกลักษณ์ มีเรื่องเล่าของพระนางมารีพรหมจารีย์จากพระคัมภีร์ และภาพของบรรดานักบุญชายหญิง มีรูปปั้น ธรรมาสนเทศน์ อ่างล้างบาป ขาเทียนลักาณะต่างๆ และรูปแกะสลักบรรยายเกร็ดประวัติในพระคัมภีร์คริสต์ศาสนา
ข้างโบสถ์เป็นปากคลองดำเนินสะดวก ซึ่งมาบรรจบกับแม่น้ำแม่กลอง ทำให้เกิดชุมชนริมน้ำบางนกแขวกขึ้นข้างโบสถ์นั้นเอง ชุมชนนี้เคยเฟื่องฟูเมื่อหลายสิบปีก่อน ทุกวันนี้ยังเหลือร่องรอยให้เห็น เช่น ห้องแถวร้านค้าปลูกขนานไปกับแม่น้ำ ปัจจุบันเป็นที่อยู่อาศัยมากกว่าค้าขาย นักท่องเที่ยวสามารถเดินเล่นชมบรรยากาศริมน้ำได้ จะเรียกหาโอเลี้ยง ชาดำเย็นตามร้านที่ยังเปิดขายอยู่ดับกระหายก็เยี่ยม
ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 สังฆมณฑลราชบุรีได้ทำการบูรณะ ซ่อมแซมวัดครั้งใหญ่ เพื่อฉลองครบ 100 ปี และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทาง
การเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2439 ดังนั้น อาสนวิหารพระแม่บังเกิดแห่งนี้ จึงเป็นโบสต์ที่สวยงาม และเก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย
ระยะการเดินทางจากบ้านปลาทับทิมแม่กลองรีสอร์ทไปที่ อาสนวิหารแม่พระบังเกิด ระยะทางแค่ 300 เมตร ใกล้เพียงนิดเดียวและลานข้างหน้าทางเข้าอาสนวิหารแม่พระบังเกิดยังมีตลาดนัด ที่ใหญ่ที่สุดในตำบลบางนกแขวก มีผลไม้สดๆออกตามฤดูกาลจากชาวสวนนำมาจำหน่ายกันที่นี้ด้วย การเข้าชมควรติดต่อขออนุญาตจากบาทหลวงผู้รับผิดชอบก่อนล่วงหน้า
ชุมชนชาวคริสต์บางนกแขวก
พอจะอนุมาณได้ว่าชุมชนชาวคริสต์บางนกแขวก มีพัฒนาการมาตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่บรรดาสัตบุรุษได้ช่วยกันสร้างโบสถ์ขึ้นในที่ดินของฟรังซิสโก ไล้ ชาวจีนที่ศรัทธาในศาสนาคริสต์ เมื่อแรกสร้างโบสถ์ขึ้นเป็นครั้กแรกและพัฒนามาเป็น"อาสนวิหารแม่พระบังเกิด"ที่สวยงานอย่างทุกวันนี้ และมีชุมชนชาวคริสต์อาศรัยอยู่บริเวณด้วยรอบอย่างหนาแน่น จนกระทั้งมีดาบตำรวจวสันต์ สุวรรณฉวี(นามสกุลเดี่ยวกับว่าที่ร้อยตรีไพโรจน์) ดำรงตำแหน่งประธานชุมชนวัดคริสต์ หมู่ที่ 7 ในเขตเทศบาลตำบลบางนกแขวก มีวิสาหกิจชุมชนแม่บ้านวัดคริสต์บางนกแขวก เลขที่ 31 หมู่ที่ 7 ภายใต้การนำของนายอุดม ถนอมแหยม
อย่างไรก็ตามเกี่ยวกับวิถีชีวิตของชุมชนชาวคริสต์บางนกแขวกนี้ "รุ่งนภา พราหมณ์วงศ์" ขณะที่เป็นนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ทำวิทยานิพนธ์เรื่อง "การธำรงชาติพันธุ์ของชุมชนชาวจีนคาทอลิกผ่านพิธีศพ : กรณีศึกษาชุมชนคาทอลิก บ้านบางนกแขวก" มีรศ.ปรานี วงษ์เทศ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา โดยมีบทคัดย่อดังนี้
"การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ กระบวนการ ปรับตัวทางสังคมวัฒนธรรมต่อสภาพแวดล้อมท้องถิ่น และบทบาทของคริสต์ศาสนาที่มี ต่อวิถีชีวิตในชุมชนชาวจีนคาทอลิกบ้านบางนกแขวก ที่จังหวัดสมุทรสงคราม โดยศึกษาผ่านพิธีศพของชาวจีนคาทอลิก ซึ่งมีรูปแบบพิธีกรรมแตกต่างจากพิธีศพของ คริสตชนทั่วไป
จากการศึกษาพบว่า พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของชุมชนชาวจีนคาทอลิกบ้าน บางนกแขวก สะท้อนให้เห็นความต่อเนื่องของกระบวนการเผยแพร่คริสต์ศาสนาในสังคมไทย และการผสมผสานความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรมภายใต้บริบทของสังคมไทยซึ่งนำไปสู่การสร้างอัตลักษณ์ของชาวจีนคาทอลิก
บูรณาการทางสังคมวัฒนธรรมของชาวจีนคาทอลิบ้านบางนกแขวกเกิดจากการมี ปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในสังคมไทย ชาวจีนคาทอลิกกลุ่มนี้ได้ใช้ คริสต์ศาสนาเป็นเครื่องมือเลื่อนสถานภาพทางสังคมเศรษฐกิจ และใช้แสดงความ ความแตกต่าง เพื่อแบ่งแยกกลุ่มของตนออกจากกลุ่มชาติพันธุ์อื่น พิธีศพของชาวจีนคาทอลิกบ้านบางนกแขวกสะท้อนสำนึกทางชาติพันธุ์ของกลุ่ม ซึ่งถูกปิดกั้นการแสดงออกทางความเชื่อดั้งเดิม เพราะขัดต่อหลักคริสต์ศาสนา
ดังนั้นชาวจีนคาทอลิกจึงได้ปรับพิธีกรรมตามความเชื่อดั้งเดิมเรื่องการ นับถือ และการปฏิบัติต่อวิญญาณบรรพบุรุษของชาวจีนให้สอดคล้องกับพิธีกรรมทางคริสต์ ศาสนา ทำให้พิธีศพของชุมชนชาวจีนคาทอลิกแห่งนี้มีลักษณะพิเศษและเป็นรูปแบบ พิธีกรรมเฉพาะกลุ่ม ในด้านความสัมพันธ์ทางสังคมชาวจีนคาทอลิก บ้านบางนกแขวกแบ่งแยกตนเอง เป็นคนละพวกกับชาวจีนกลุ่มอื่น โดยใช้ศาสนาเป็นเครื่องแสดงอัตลักษณ์ทางชาติ พันธุ์
อย่างไรก็ตาม การแสดงตนของชาวจีนคาทอลิกขึ้นอยู่กับสถานการณ์และบริบท ในช่วงเวลาหนึ่ง หากสถานการณ์สร้างแรงบีบคั้นให้เกิดความรู้สึกว่ากำลังสูญเสีย สิทธิและผลประโยชน์ แล้วสำนึกทางชาติพันธุ์ก็จะแสดงออกมาเพื่อปกป้องตนเอง"
ประวัติตำบลบางนกแขวก
เมื่อก่อนตำบลบางนกแขวก ใช้ชื่อว่าตำบลบ้านโพธิ์งาม มาเปลี่ยนเป็นตำบลบางนกแขวก เพราะว่ามีนกแขวกมาอาศัยอยู่ในตำบลโพธิ์งาม เลยทำให้ชาวบ้านเปลี่ยนชื่อเป็นตำบลบางนกแขวก และใช้สัญลักษณ์นกแขวกเป็นสัญลักษณ์ของตำบล ภายหลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้น ญี่ปุ่นเอาระเบิดมาทิ้งที่ประตูน้ำบางนกแขวกเพื่อไม่ให้ขนถ่ายน้ำมันผ่านทาง ประตูน้ำ แต่ก็ไม่ได้เกิดความเสียหายอะไร เพราะมีองค์หลวงพ่อโตศักดิ์สิทธิ์ที่เคารพของชาวบางนกแขวกคอยดูแล มีก็แต่บ้านเรือนเสียหายบ้างเล็กน้อย ส่วนปากคลองบางนกแขวกติดกับวัดคริสต์มีเจ้าพ่อดูแลบางนกแขวกชื่อ นายกังวาล วีระปรีชานนท์ ได้เสียชีวิตไปแล้ว
สภาพทั่วไปของตำบล :พื้นที่ส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่ม ริมฝั่งแม่น้ำ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก มีแม่น้ำลำคลองไหลผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนผลไม้ยกร่อง
อาณาเขตตำบล :ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลสี่หมื่น อำเภภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ทิศใต้ ติดกับ ตำบลบางคนที อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ติดกับ ตำบลบางยี่รงค์ อำเภอบางคนที จังหวัดสมุทรสงคราม
นับได้ว่าพื้นที่ตำบลบางนกแขวกมีจุดที่ชวนได้เที่ยวชมได้แพ้อัมพวาเลยที่เดียว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น