วันเสาร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2552

"ลูกปัดสุริยเทพ"2พันปีถูกฉกจากมิวเซียมสยามโปรโมทหรือทำลาย

ทันทีที่ทราบข่าว่า "ลูกปัดสุริยเทพ" อายุกว่า 2 พันปีจากงานแสดงหินและลูกปัดโบราณ อาคารนิทรรศการหมุนเวียน สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ หรือ มิวเซียมสยาม ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 4 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมหาราชวัง เขตพระนคร กทม. ถูกโจรกรรม เมื่อเวลา 20.00 น.ของวันที่ 5 มี.ค. ได้สร้างความสนใจให้กับคนทั่วไปไม่น้อย บ้างคนอาจจะจิตนาการเหมือนกันกการโจรกรรมงานแสดงเพชรเครื่องประดับล้ำค่าที่มีการนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ให้ชมกัน
หลายคนคงได้ไปชมงานแสดงนี้แล้วและก็มีอีกหลายคนเช่นเดียวกันที่ยังไม่เคยไปและไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่า มิวเซียมสยาม อยู่ที่ไหนเป็นมาอย่างไร รวมถึงความเป็นมาของ "ลูกปัดสุริยเทพ"
แต่หลังจากมีข่าวนี้เกิดขึ้นทำให้หลายคนหันมาสนใจศึกษาประวัติศาสตร์ความเป็นมาของ มิวเซียมสยาม หรือสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ทำให้ทราบว่า อาคาร มิวเซียมสยามก็คือกระทรวงพาณิชย์เดิม หลังจากที่กระทรวงพาณิชย์ได้ย้ายไปอยู่ย่านสนามบินน้ำ ก็ได้มีการปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ หรือ มิวเซียมสยาม ถือฤกษ์เปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 2 เม.ย. พ.ศ. 2551 โดยเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใช้เทคนิคการเล่าเรื่องแบบโต้ตอบโดยใช้ตัวละคร 7 ตัวเป็นตัวกลาง
มิวเซียมสยาม แบ่งออกเป็น 3 ชั้น ชั้น 1 ประกอบด้วยห้องฉายภาพยนตร์สั้นเพื่อนำเข้าสู่การชมมิวเซียมสยาม ผ่านตัวละครต่าง ๆ และห้องแสดงวัฒนธรรม เอกลักษณ์ของไทย หรือเรียกว่าห้องไทยแท้ ชั้น 2 แสดงเนื้อหาเกี่ยวกับความเป็นมาของประเทศสยามตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ขณะที่ชั้นที่ 3 แสดงตำนานความเป็นมาของสุวรรณภูมิ ห้องพุทธิปัญญา ห้องกำเนิดสยามประเทศ และตำนานกำเนินกรุงศรีอยุธยา รวมถึงห้องแสดงการรบสมัยกรุงศรีอยุธยา
จะเห็นได้ว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉก "ลูกปัดสุริยเทพ" อายุ 2 พันปีถูกฉกจาก มิวเซียมสยาม เช่นนี้เกิดขึ้นคนไทยได้หันมาสนใจประวัติศาสตร์ชาติไทยมากขึ้น และเข้าใจว่า มีหลายคนพาลูกหลายไปชมเหตุการณ์จริงถึง มิวเซียมสยาม ให้เห็นกับตาเลยว่า ที่ของ "ลูกปัดสุริยเทพ" ที่ถูกฉกหรือถูกโจรกรรมนั้นตั้งอยู่ตรงไหน คงจะทำให้ได้ความรู้ทางประวัติศาสตร์เพิ่มเติมอีกอย่างมาก ไม่สามารถที่จะศึกษาได้ทางตำราเรียนหรือเป็นเพราะมีการทุจริตตำราเรียนเกิดขึ้นทำให้ยัดเยียดเนื้อหาอะไรก็ไม่รู้ให้นักเรียนเรียน ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการเรียนการสอนหรือความรู้นั้นไม่จำเป็นจะต้องการยึดติดกับตำรา ซึ่งพระท่านก็สอนในหลักกาลามสูตรอยู่แล้วนะ

http://www.kanchanapisek.or.th/kp8/culture///krb/krb101.html
เมื่อเข้าไปถึง มิวเซียมสยาม คงได้ความรู้เพิ่มเติมว่า “ลูกปัดสุริยเทพ" มีความเป็นมาอย่างไร แม้นว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉกเกิดขึ้น นายรณฤธิ์ ธนโกเศศ หัวหน้าฝ่ายพิพิธภัณฑ์และกิจกรรม ก็ได้บอกว่า “ลูกปัดสุริยเทพ" เป็นหินโบราณที่ทางพิพิธภัณฑ์ได้ขอยืมมาจาก นายแพทย์บัญชา พงศ์พานิช เพื่อนำมาโชว์ในงานแสดง โดยนักสะสมต่างกล่าวขานกันว่า “ลูกปัดสุริยเทพ” เพราะมีลักษณะเป็นหินที่เกิดเองตามธรรมชาติ ค้นพบในพื้นที่ อ.คลองท่อม จ.กระบี่ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซ็นติเมตร
นอกจากนี้ยังมีลวดลายคล้ายรูปหน้าตาของเทพเจ้าชนเผ่าอินเดียแดง อยู่ตรงกลาง รอบ ๆ หินมีขอบสีเขียวและสีแดงสลับกันคล้ายสีของเครื่องแต่งกายนักรบโบราณ คาดว่าหินที่สูญหายไปนี้มีอายุประมาณไม่ต่ำกว่า 2,000 ปี และไม่สามารถตีมูลค่าเป็นตัวเงินได้ แต่ตำรวจก็ได้ตรวจสอบมูลค่าและประเมินราคา “ลูกปัดสุริยเทพ" จากตลาดคนที่เล่นของจำพวกนี้แล้วพบว่ามีราคาอยู่ที่ราวๆ 1.5 แสนบาท
พร้อมกันนี้ “ลูกปัดสุริยเทพ" ในหมู่นักเล่นแร่แปรธาตุและผู้ต้องการสะสมของเก่า ต้องการมีไว้ในครอบครองเพราะเห็นว่า เป็นของศักดิ์สิทธิ์ตามธรรมชาติที่หายากและเนื่องจากเชื่อกันว่า หากใครได้ครองครองหินดังกล่าวจะมีโชคลาภ และปราศจากโรคภัยไข้เจ็บอีกด้วย
แม้นว่าจะมีการตีราคา “ลูกปัดสุริยเทพ" เพียง 1.5 แสนบาท แต่มูลค่าทางประวัติศาสตร์ชาติไทยแล้วหาค่าไม่ได้จริงๆ เพราะจากการค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นในประเทศไทยของเว็บไซต์คมชัดลึกพบว่า “ลูกปัดสุริยเทพ" เป็นลูกปัดหน้าคน สันนิษฐานว่าเป็นรูป "พระสุริยเทพ" ทำจากแก้วหลอม และเศษแก้วหลายสี บางก้อนมีเศษลูกปัดติดอยู่ในเนื้อแก้ว จึงสันนิษฐานว่า ควนลูกปัดใน อ.คลองท่อม จ.กระบี่ อาจเคยเป็นแหล่งผลิตแก้วและลูกปัด ตราประทับที่จารึกด้วยอักษรปัลลวะ อายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 10-12
นอกจากนี้ จากการตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม พบว่าแหล่งคลองท่อม หรือควนลูกปัด เป็นสถานที่สำคัญในเชิงประวัติศาสตร์โบราณคดี วัตถุโบราณส่วนหนึ่งเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์วัดคลองท่อม ซึ่งคำว่า "ควนลูกปัด" เป็นชื่อที่ชาวบ้านเรียก เมื่อมีการค้นพบลูกปัดแก้วสีต่างๆ บนเนินดินบริเวณนี้ สมัยก่อนไม่มีใครสนใจ เพราะเห็นว่าไม่มีค่าอะไร หรืออาจเห็นว่าเป็นของโบราณ เกรงจะเกิดอาเพศตามความเชื่อ จึงเรียกบริเวณนี้ว่า ควนลูกปัด ส่วนชื่อ "คลองท่อม" เป็นชื่ออำเภอ ตั้งขึ้นตามชื่อ "คลองท่อม" ที่ไหลผ่าน ส่วนประวัติทางโบราณคดีนั้น พบว่ามีหลักฐานการเข้าอยู่อาศัยของมนุษย์ตั้งแต่สมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ และมีการพบวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ด้วย สันนิษฐานว่าเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมจากสมัยก่อนประวัติศาสตร์ กลุ่มคนที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานบนเนินดินคลองท่อมคงเป็นคนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่ตามป่าเขาใกล้เคียง
เพราะจากหลักฐานต่างๆ จากบริเวณอ่าวพังงาลงมาถึงบริเวณเขาขนาบน้ำ ถ้ำเสือ ถ้ำหลังโรงเรียนทับปริก ถ้ำอ่าวโกบหน้าเชิง ล้วนเป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ทั้งสิ้น ชุมชนคลองท่อมอยู่ใกล้ทะเล มีลำคลองไหลผ่าน อยู่ในเส้นทางการเดินทางข้ามแหลมจากตะวันตกไปตะวันออก เป็นที่เดินทางผ่านไปมาของบรรดาพ่อค้าต่างๆ เช่น อินเดีย อาหรับ เปอร์เซีย เป็นต้น

แหล่งคลองท่อม หรือควนลูกปัด ยังพบหลักฐานทางโบราณคดีที่ปรากฏจำนวนมาก ทั้งวัตถุที่ทำด้วยหิน แก้ว ดินเผา สัมฤทธิ์ เงิน และทองคำ โดย “ลูกปัดสุริยเทพ" ดังกล่าวถือเป็นวัตถุที่ทำด้วยแก้ว มีลักษณะพิเศษคือ เป็นลูกปัดหน้าคน ซึ่งชาวบ้านเรียกว่า "หน้าอินเดียนแดง" สันนิษฐานว่าจะเป็นรูปพระสุริยเทพ โดยได้รับอิทธิพลจากแถบเมดิเตอร์เรเนียน
ขณะเดี่ยวกันพื้นที่ที่ค้นพบ “ลูกปัดสุริยเทพ" นั้นก็ได้มีชาวบ้านได้ขุดและค้นเพราะพบอยู่เสมอ อย่างเช่นล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผานมานี้ก็ได้มีการขุดพบลูกปัด และเครื่องประดับโบราณนานาชนิดทำด้วยหิน แก้วโมเสค ทองคำ พร้อมอุปกรณ์การผลิต เงินตรานานาชาติ อาทิ เหรียญทองคำของจักรพรรดิแห่งโรมัน เหรียญสำริดราชวงศ์ถังของจีน ในแหล่งโบราณคดีทุ่งตึก ตั้งอยู่หมู่ที่ 4 ต.เกาะคอเขา อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ชาวบ้านในพื้นที่เรียกว่า "เหมืองทอง" และที่ ต.คลองท่อม อ.คลองท่อม จ.กระบี่
ในครั้งนั้น นพ.บัญชา พงษ์พานิช เจ้าของ “ลูกปัดสุริยเทพ” ที่ถูกฉก ก็ได้แสดงความเห็นผ่านทางมติชนออนไลน์ว่า ลูกปัดแก้วโมเสคและลูกปัดตาตะกั่วป่าและ “ลูกปัดสุริยเทพ "คลองท่อม" ทำด้วยเทคนิคพิเศษชั้นสูง เริ่มพัฒนาครั้งแรกในดินแดนอียิปต์โบราณ อาณาจักรโรมัน และดินแดนตะวันออกกลางโบราณเมื่อประมาณ 2,000 ปีก่อน จนกระทั่งแพร่หลายอย่างมากอยู่ระยะหนึ่ง

"การพบลูกปัดเหล่านี้ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญในด้านการศึกษาค้นคว้าทั้งทางวิชาการ ประวัติศาสตร์ โบราณคดีตลอดจนการส่งเสริมการผลิตและการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก หากทางการ ท้องถิ่น และจังหวัดจะร่วมกันนำมาใช้ประกอบการศึกษาส่งเสริมและพัฒนาอย่างจริงจัง" นพ.บัญชากล่าว
พร้อมกันนี้ยังทำให้ทราบถึงวิวัฒนาการณ์ของลูกปัดแก้ว (Bead) ขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องประดับ บ่งชี้ถึงสถานะทางสังคม เป็นเครื่องรางของขลัง สื่อกลางในการแลกเปลี่ยนพิธีกรรม รวมทั้งเป็นสินค้า เนื่องจากนักโบราณคดีพบร่องรอยลูกปัดที่เก่าแก่ราว 45,000 ปี อย่างเช่นลูกปัดแก้วน้ำเคลือบ ผลิตขึ้นในอียิปต์ราว 4,500 ปีก่อน เป็นลูกปัดเนื้อทรายเคลือบด้วยเนื้อแก้วสีฟ้า โดยใช้เทคนิกการหลอมผิวทรายชั้นนอกส่วนลูกปดัที่ผลิตจากจีน ในยุคโบราณ มีลักษณะเหมือลูกปัดแก้วตา ใช้เทคนิกซับซ้อน ทำจากลูกปัดแก้วสีเดียวที่นำแผ่นแก้วมาหลอมรูปกลมซ้อนทับทำให้เกิดลายคล้ายดวงตาแล้วนำมาปะติดกับก้อนแก้
สำหรับลูกปัดแก้วนั้น หลังจากมนุษย์รู้จักวิธีการหลอมทรายเป็นแก้ว ได้พัฒนาเทคนิกใส่ผงแร่ให้เกิดสีสันสวยงาม จากนั้นทำลวดลาย ม้วน พัน พับ ดึง หลอมและหล่อ ตลอดจนตัดแปะกระทั่งกลายเป็นลูกปัดแก้วโมเสกในสมัยโรมันและไบเซนไทน์ ขณะที่ทองคำถูกนำมาทำเป็นลูกปัดแก้วด้วยรูปแบบหลากหลายในแทบทุกอารยธรรมโบราจนกระทั้งปัจจุบันสามารถพัฒนาเป็นลูกปัดแก้วสามารถถูกที่มีลักษณะเหมือนทอง สามารถหาซื้อใส่แทนทองได้แบบไม่เก้อเขิน โดยเฉพาะอย่างยิงลูกปัดแก้วญี่ปุ่น ดูตัวอย่าง
ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้เขียนบทความเรื่อง”ปริศนาแห่งลูกปัด”ทางหนังสือพิมพ์โฟสต์ทูเดย์ อย่างเช่นความเห็นนี้
"เป็นเรื่องท้าทายครับสำหรับการค้นหาลูกปัด เพราะทฤษฎีเก่ากับทฤษฎีใหม่ก็ยังมีการนำมาถกเถียงเพื่อหาสรุปกันอยู่บ่อย สิ่งที่มันสะท้อนออกมามีหลายอย่างมาก แต่สำหรับผมความน่าสนใจ คือการเดินทางแบบที่สามารถเชื่อมโยงโลกใบนี้เอาไว้เสมือนอยู่ใกล้ๆ เรื่องลวดลาย หรือรูปแบบ แม้กระทั่งสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนลูกปัดก็เป็นอะไรที่น่าเรียนรู้มากๆในมิติสะท้อนถึงอารยะ ลูกปัดให้คุณค่าเรื่องนี้เด่นชัด ไม่ว่าจะบริบทใดและมุมใดของโลก ความเป็นไปเป็นมาแต่ละแห่งแต่ละชนชาติ ถูกหลอมรวมไว้ในลูกปัดทั้งสิ้น ” นายทวีศักดิ์ วรฤทธิ์เรืองอุไร ผู้ช่วยภัณฑารักษ์ มิวเซียมสยาม บอก
พล.ร.อ.ฐนิธ กิตติอำพน ผู้อำนวยการมิวเซียมสยาม หรือสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (สพร.) มองว่า เอกลักษณ์ของลูกปัดจะบอกอารยธรรมโบราณได้เป็นอย่างดี ทำให้เห็นการเชื่อมโยงยุคสมัย ซึ่งยังผลมาสู่โลกยุคใหม่ และขยายขอบเขตไปจนถึงบริบทต่างๆ
อย่างไรก็ตามสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้จากพิพิพิธภัณฑ์ลูกปัดคลองท่อม หรือ "พิพิธภัณฑ์ลูกปัดโบราณ" ของผู้หญิงแกร่งนาม "ผู้ใหญ่เยิ้ม เรืองดิษฐ์" ซึ่งเป็นผู้ที่เก็บสะสมมาเป็นเวลาสิบปี อยู่หาดทรายแก้ว บ้านเลขที่ 103/1 หมู่ 1 ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช
ดังนั้นการที่โจรเข้าไปฉก"ลูกปัดสุริยเทพ" อายุ 2 พันปีจาก มิวเซียมสยาม ครั้งนี้แม้จะทำให้รู้ศึกใจหายในความสูญเสีย แตะมองอีกด้านหนึ่งอาจจะเป็นชนวนให้คนไทยหันมามองดูประวัติศาสตร์ของตัวเองมากยิ่งขึ้นก่อนที่จะลืมกำพืดของตัวเอง ไม่แน่นะต่อไปนี้อาจจะมีคนคิดทำเหรียญสุริยเทพแล้วโปรโมทดังกว่าเหรียญจันทราเทพก็ได้นะ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Google