เมื่อวันอาทิตย์ที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา อาจารย์ธีรยุทธ บุญมี ได้อุปมาการบริหารงานของนายกรัฐมนตรี พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เหมือนกับ "ฤาษีเลี้ยงเต่า" ไม่มีการจัดการปัญหา ทำงานเชื่องช้า ไม่ทันจัดการกับ "ลิง" อย่าง "ระบอบทักษิณ" จึงได้เสนอให้ปรับตัวเสียใหม่ให้เหมือน "ขุนพันธรักษ์ราชเดช" ที่ปลุกเสก "จตุคามรามเทพ" จนโด่งดัง กลบคุณงามความดีของ "ขุนพันธรักษ์ราชเดช" ที่แทนคุณแผ่นดินไป
แม้นนายกฯสุรยุทธ์จะมีหลักดียึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นั่งหลับตาท่อง "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" หนอ ๆ คงไม่ทันการ ไม่ทันจริต "ลิง" อย่าง "ระบอบทักษิณ" ที่ใช้เครื่องมือดิจิดัลทุกรูปแบบ ขณะนี้ก็ใช้กลวิธีเปิด "พีทีวี" (ใจไม่อยากพูดถึงกลัวตกเป็นเหยื่อ) หวังวัดมาตรฐาน "ฤาษีเลี้ยงเต่า" หากจะจัดการกับ "พีทีวี" ก็ต้องจัดการกับ "ทีวี" ที่มีลักษณะเดียวกันด้วย ไม่เช่นนั้นก็เท่ากับเป็นคนสองมาตรฐานว่า "เขาอีเหนาเป็นเอง"
อาจารย์ธีรยุทธ์จึงเสนอให้ "ฤาษีเลี้ยงเต่า" ปรับบุคลิกใหม่ให้เป็นเหมือน "ขุนพันธรักษ์ราชเดช" แน่นอนฐานจิตของนายกฯสุรยุทธ์ดี แต่ร่างกายไม่คล่องแคล่ว จึงใคร่เสนอสูตร "ฤาษีดัดตน" มาใช้เพื่อที่ให้ร่างกายมีความพร้อมที่จะสามารถจัดการกับ "ระบอบทักษิณ" เพราะว่าฤาษีก็คือผู้ฝึกตนก็คือการฝึกจิตให้ดีงาม
การฝึกจิตอย่างเดียวโดยไม่ฝึกร่างกายด้วยแล้ว ร่างกายก็จะไม่สะดวกหรืออำนวยต่อการฝึกจิตได้ ดังนั้น "ฤาษี" จึงมีสูตรในการบริหารร่างกาย ดังที่ปรากฏที่ "จารึกวัดโพธิ์" มีทั้งหมด 80 ท่าด้วยกัน ซึ่งก็คือท่ากายบริหารนั้นเอง
เมื่อกลางปีที่ผ่านมา คนไทยใจหายเมื่อได้ข่าวว่าคนประเทศญีปุ่นได้ไปจดลิขสิทธิ์เป็นของตัวเอง ทำให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องเต้นเป็นเจ้าเข้าประท้วงเป็นการใหญ่ แต่ดีที่หน่วยของรัฐประเทศญี่ปุ่นไม่บ้าจี้ที่จะรับจดไม่เช่นนั้นก็คงเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีก ล่าสุดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงวัฒนธรรม และวัดโพธิ์จะเสนอ “จารึกวัดโพธิ์-ฤาษีดัดตน” เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก ก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี
เชื่อแน่ว่า "ฤาษีเลี้ยงเต่า" ใช้สูตร "ฤาษีตัดตน" คงจะสามารถจัดการกับ "ระบอบทักษิณ" ให้หันปฏิบัติตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพราะหากคนไทยยังไม่เข้าแล้วจะให้ฝรั่งที่ไหนเข้าใจ
แต่ก็มีตัวอย่างที่ของฝรั่งที่ปฏิบัติตนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยังประโยชน์ตนและประโยชน์ส่วนรวม ไม่ว่าใครก็ยกย่องสรรเสริญ ไม่ใช่มีแต่กร่นด่าเหมือนคนบ้างคน
บุคคลนี้คือ "วอร์เรน บัฟเฟตต์" ที่ได้สัมภาษณ์ทางสถานีโทรทัศน์ CNBC ถึงหลักการดำเนินชีวิต แบบ "พอเพียง"
ข้อแรกก็คือ บัฟเฟตต์เป็นคนที่ขยันหาเงิน เก็บออม และลงทุน มาตั้งแต่เด็ก เขาเริ่มซื้อหุ้นครั้งแรกเมื่ออายุ 11 ขวบ แต่ก็ยังบอกว่าเขาเริ่มลงทุนช้าเกินไป พอถึงอายุ 14 ขวบ เขาก็สามารถเก็บเงินจากการส่งหนังสือพิมพ์เพียงพอที่จะซื้อไร่ขนาดย่อมๆ ได้
ข้อสอง ทุกวันนี้ ในฐานะของเศรษฐีที่ร่ำรวยเป็นอันดับ 2 ของโลกด้วยความมั่งคั่งประมาณ 4- 5 หมื่นล้านดอลลาร์ เขาก็ยังคงอาศัยอยู่ในบ้านขนาด 3 ห้องนอนหลังเดิมที่ซื้อไว้หลังจากแต่งงานเมื่อ 50 ปี ก่อน บ้านหลังนี้ไม่มีรั้วหรือกำแพงล้อม แต่เขาบอกว่ามันมีทุกอย่างที่เขาต้องการ
ข้อสาม เขาเป็นผู้บริหารสูงสุดของบริษัท เบิร์กไชร์ ฮาธาเวย์ ที่มีมูลค่าตลาดของหุ้นที่ติดอันดับต้นๆ ของบริษัทที่ใหญ่ที่สุดของอเมริกา แต่เขาก็ยังขับรถไปไหนมาไหนด้วยตนเองโดยไม่มีคนขับรถหรือผู้คุ้มกันอย่างผู้บริหารสูงสุดของบริษัทยักษ์ใหญ่อื่นๆ
ข้อสี่ สิ่งที่ดูเหมือนว่าจะเป็นความ "ฟุ่มเฟือย" ประการเดียวก็คือ การที่เขาเคยซื้อเครื่องบินส่วนตัวเก่าลำหนึ่งซึ่ง ชาร์ลี มังเกอร์ เพื่อนรักและหุ้นส่วนสำคัญเคยตั้งชื่อให้ว่า "เถียงไม่ออก" (Indefensible) เพื่อใช้ในการเดินทางไปทำธุรกิจ แต่หลังจากที่เขาพบบริษัท Executive Jet ที่ให้บริการเครื่องบินส่วนตัวแบบแชร์เวลากันใช้ที่ใหญ่ที่สุด เขาก็ขายเครื่องบิน "เถียงไม่ออก" ทิ้ง และซื้อบริษัท Executive Jet และใช้บริการเดินทางโดยเครื่องบินของบริษัทนี้แทน
ข้อห้า ในการบริหารบริษัทในเครือ 63 แห่งของเบิร์กไชร์นั้น บัฟเฟตต์จะปล่อยให้ผู้บริหารของบริษัทเหล่านั้นดำเนินการอย่างอิสระ โดยเขาจะเขียนจดหมายถึงผู้บริหารเหล่านั้นเพียงปีละฉบับเดียวเพื่อให้เป้าหมายประจำปีที่จะต้องทำ เขาไม่เคยนัดประชุมหรือโทรคุยกับผู้บริหารเหล่านั้นเป็นประจำ กฎของบัฟเฟตต์ที่ให้แก่ผู้บริหารระดับสูงสุดของเขามีเพียง 2 ข้อ นั่นคือ ข้อหนึ่ง อย่าทำให้เงินของผู้ถือหุ้นเสียหาย และข้อสองก็คือ อย่าลืมกฎข้อหนึ่ง
(ช่วยลดเสมหะในลำคอ)
(แก้สะบักหน้าจม)
ข้อหก บัฟเฟตต์ไม่ได้คบค้ากับคนในวงการไฮโซ การพักผ่อนหย่อนใจของเขาเมื่อกลับบ้านก็คือ การทำข้าวโพดคั่วรับประทานและดูทีวี และที่สำคัญก็คือ การเล่นไพ่บริดจ์ผ่านอินเทอร์เน็ต
(แก้เวียนศรีษะ)
ข้อเจ็ด บัฟเฟตต์ไม่ใช้โทรศัพท์มือถือ และไม่มีคอมพิวเตอร์บนโต๊ะทำงาน มีคนเคยถามว่าเขาคิดคำนวณหามูลค่าที่เหมาะสมของหุ้นหรือการลงทุนขนาดใหญ่ต่างๆ ได้อย่างไร เขาตอบว่า มันอยู่ใน "หัว" นั่นหมายความว่า การลงทุนสำหรับบัฟเฟตต์แล้ว จะต้องเป็นสิ่งที่เรียบง่ายไม่ซับซ้อนขนาดที่จะต้องคำนวณด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนเรื่องการไม่ใช้โทรศัพท์มือถือนั้น น่าจะเป็นการบอกว่าเรื่องของการลงทุนนั้น ไม่มีอะไรที่เป็นเรื่องรีบด่วน
(แก้ลมเสียดทั้งตัว) ข้อแปด คำแนะนำสำหรับคนหนุ่มสาวของวอร์เรน บัฟเฟตต์ ก็คือ จงหลีกห่างจากบัตรเครดิต และลงทุนในตัวคุณเอง นี่เป็นสิ่งที่น่าทึ่งในแง่ที่ว่า เขาไม่ได้แนะนำให้คนหนุ่มสาวลงทุนในหุ้น บัฟเฟตต์คงเห็นว่า การลงทุนในตัวเอง เช่น การศึกษาหาความรู้และฝึกฝนทักษะ นั้น น่าจะให้ผลตอบแทนดีกว่าสิ่งอื่นใดทั้งหมด ในอีกด้านหนึ่ง การใช้จ่ายโดยอิงกับบัตรเครดิตนั้น น่าจะนำไปสู่การใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย และเป็นสิ่งที่ทำร้ายคนหนุ่มสาวมากที่สุด
(แก้ลมในลำลึงค์) สุดท้ายที่เป็นความน่าทึ่งก็คือ การพบกันเป็นครั้งแรกระหว่างบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลก 2 คน คือ บิล เกตส์ กับบัฟเฟตต์เมื่อ 5 ปีก่อน ในครั้งนั้น บิล เกตส์ คิดว่าบัฟเฟตต์กับตนนั้น ไม่มีอะไรเหมือนกันเลยยกเว้นว่าจะรวยพอๆ กัน จึงกำหนดเวลานัดพบเพียงครึ่งชั่วโมง แต่เมื่อพบกันจริงๆ พวกเขากลับคุยกันถึงสี่ชั่วโมง และบิล เกตส์ กลายเป็นคนที่ศรัทธาในตัวบัฟเฟตต์อย่างลึกซึ้ง เช่นเดียวกับที่บัฟเฟตต์เองก็นับถือ และยอมรับ บิล เกตส์ มากและนั่นก็นำไปสู่การบริจาคเงินครั้งใหญ่ที่สุดในโลกจำนวน 31 พันล้านดอลลาร์ของบัฟเฟตต์ให้แก่มูลนิธิของ บิล เกตส์ เมื่อปีที่แล้ว
(แก้ลมในลำคอ)
และทั้งหมดนั้นก็คือชีวิตที่ "พอเพียงอย่างน่าทึ่ง" ของราชันย์นักลงทุนแห่งโอมาฮา วอร์เรน อี.บัฟเฟตต์
นี้คือเนื้อหาหลักปฏิบัติตนเก้าข้อของบัฟเฟตต์นี้ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร นำมาเสนอผ่านทางคอลัมภ์ "โลกในมุมมองของ Value Investor" ทางหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ วันนี้(24ก.พ.) เป็นบทพิสูจน์ระหว่างหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับ "ทักษิโณมิกส์" ท่านจะยึกหลักใด
(แก้ปวดเอวแน่นหน้าอก)
(แก้ปวดเอว)
(แก้ปวดไหล่)
(แก้ปวดสะโพกเอว)
(แก้ปวดคอบ่าไหล่เรื้อรัง)
(แก้ปวดเข่า)
(แก้จุกอก)
(มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ จ.สงขลา)
ภาพจากศูนย์ภาพเนชั่น
ขอขอบคุณอาจารย์ที่สาธิต-ขออภัยที่ไม่ได้ระบุนาม
ขอขอบคุณผู้สาธิต
หรือดูภาพเพิ่มเติมได้ http://www.thaifolk.com/image/watpho/more1/watpo_album2.htm
ฤาษีดัดตนท่าต่าง ๆ เพิ่ม
โคลงฤาษีดัดตนพร้อมภาพ 77 ท่า
ฝึกโยคะท่าต่าง ๆ
วันอังคาร ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2550
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น