ขณะนี้มีความเชื่อในองค์ "จตุคามรามเทพ" ว่าทรงอานุภาพต่างๆ นานา ทรงอิทธิสิทธิ์ปาฏิหาริย์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิปาฏิหาริย์ด้านให้โชคให้ลาภ ส่วนอานุภาพด้านการคุ้มภัยนั้นก็มีบ้างจึงทำให้การสร้างรุ่นต่าง ๆ เพื่อคุ้มภัยจากโจรใต้
ขณะเดียวกันกระแสจตุคามได้แพร่หลายไปยังกลุ่มชาวพม่าและชาวกระเหรี่ยงอย่างกว้างขวางเช่นกัน และรุ่นที่โด่งดังเป็นที่นิยมของชาวพม่าและชาวกระเหรี่ยงคือ "รุ่นสองนคร" หากเป็นของจริงราคาเช่นอยู่ที่หลักแสนบาท หากเป็นของเทียมก็หลักหมื่นบาทแล้ว โดย"รุ่นสองนคร" สร้างที่วัดนางพญา จ.นครราชสีมา
กระแสจตุคามฟีเวอร์ในกลุ่มคนที่ไม่ใช่ชาวพุทธก็คงจะไม่วิพากษ์วิจารณ์ แต่ปัจจุบันนี้ได้ครอบคุ้มไปถึงพระสงฆ์ ที่ทำหน้าที่ปลุกเสก โดยอ้างว่าเพื่อหารายได้ในการสร้างวัด(เมื่อใดจะสร้างคนบ้าง) หวังดึงคนเข้าวัดอีกทาง แต่วิธีเช่นนี้ถูกต้องตามพุทธวิธีหรือไม่
หากมองย้อนไปสมัยพุทธกาลแล้ว พระองค์ตรัสเกี่ยวกับเรื่องปาฏิหาริย์ไว้อย่างไร เรื่องนี้พระพุทธทาสภิกขุ ได้เขียนไว้ในหนังสือพุทธประวัติสำหรับนักศึกษา ตอนที่ 16 เรื่องปาฏิหาริย์โดยมีความสรุปว่า
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปตามชนบทต่าง ๆ พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์ เพื่อสั่งสอนเวเนยยสัตว์ก็มีคนจำนวนมากเลื่อมใสยอมเป็นสาวกเป็นจำนวนมาก
แต่พร้อมกันนั้นก็ยังมีศาสดาศาสนาอื่นได้แสดงสิ่งซึ่งประหลาดผิดธรรมดา อันเรียกว่า "ปาฏิหาริย์" ได้ทำให้มหาชนแตกตื่นกัน และมีคนจำนวนมากได้เลื่อมใสและออกปากสรรเสริญการกระทำเช่นนั้น จนกระทั้งกลายเป็นสาวกของเจ้าลัทธิ ศาสดานั้น ๆ ก็มีอยู่จำนวนมาก
พระภิกษุทั้งหลายก็ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทูลของร้องให้พระองค์ทรงกระทำเช่นนั้นบ้าง เพื่อประชาชนจักได้เลื่อมใสพอใจและเข้ามาเป็นสาวกมาก ๆ
พระพุทธองค์ได้ตรัสว่า "พระองค์ทรงรู้สึกละอายในการที่จะล่อประชาชนให้มีความเชื่อถือ ด้วยการกระทำที่แปลกประหลาดหรือปาฏิหาริย์ทำนองนั้น แต่พระองค์ทรงสามารถทำให้คนเกิดความประหลาดถึงขนาดรู้สึกมหัศจรรย์ให้ปาฏิหาริย์ที่แท้จริงอย่างอื่น
พระองค์ได้ตรัวแต่ภิกษุเหล่านั้นว่า "ตถาคตเจ้าทั้งหลายย่อมกระทำปาฏิหาริย์ แต่อย่างเดียวเท่านั้นคือ เมื่อพระตถาคตทั้งหลายเห็นมนุษย์ประกอบด้วย กาม กิเลสและตัณหา ก็ทรงเปลื้องประชาชนเหล่านั้นออกมาเสียจาก กาม กิเลสและตัณหา
เมื่อทรงเห็นว่ามหาชนทั้งหลายตกเป็นทาสของโทษะและการผูกเวร ก็ทรงเปลื้องประชาชนเหล่านั้นเสียจากการตกเป็นทาสของโทษะและการผูกเวร เมื่อทรงทราบว่าประชาชนบอดเพราะความเขลาและอวิชชา ก็ทรงเปิดตามของคนเหล่านั้น ช่วยให้เขาพ้นจากความเขลาและอวิชชา ซึ่งเป็นความบอดมืด ยิ่งเสีวกว่าความมืดแห่งราตรี
ภิกษุทั้งหลาย ปาฏิหาริย์อย่างเดียวดังกล่าวนี้เท่านั้น ที่พระตถาคตทั้งหลายพากันทำ ส่วนปาฏิหาริย์อย่างอื่น ๆ นั้น ท่านเกลียดชังและประณาม ไม่ยอมกระทำปาฏิหาริย์เหล่านั้น
ต่อมาพระปิณโฆลภารทวาชะแสดงปาฏิหาริย์ด้วยการเหาะขึ้นไปที่สูงปลดเอาบาตร พระองค์ทรงทราบ จึงรับสั่งให้ทำหลายบาตรใบนั้นและทรงห้ามมิให้ทำเช่นนั้นอีก พร้อมทั้งทรงบัญญัติว่า ภิกษุทั้งหลายต้องไม่ทำการล่อลวงคนเขลาทั่วๆไปให้นับถือบูชา ด้วยการกระทำปาฏิหาริย์ชนิดนั้น ถ้าขืนทำจักต้องไม่อยู่ร่วมกับพระองค์หรือภิกษุสงฆ์ทั้งหลายอีกต่อไป
ข้อบังคับอันนี้ได้ม่อยู่สืบมาเป็นวินัยข้อสำคัญข้อหนึ่งของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา (ถ้าพระภิกษุอวดว่าแสดงปาฏิหาริย์ได้ทั้งๆ ที่ทำไม่ได้ จะต้องอาบัติปาราชิก ขาดจากความเป็นพระภิกษุ ในข้ออุตตริมนุษยธรรมไม่มีในตน) ห้ามไม่ให้ภิกษุใดแสดงปาฏิหาริย์เพื่อให้คนเลื่อมใส เพื่อลาภสักการะอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเด็ดขาด
ดังนั้นมหาเนชั่นจึงไม่พระที่ทำหน้าที่ปลุกเสกทั้งหลายนั้นจะได้คำนึงคำสอนนี้หรือไม่ จะรู้สึกละอายอย่างที่พระองค์ละอายหรือไม่ หากมีการโอ้อวดแล้วก็เชื่อแน่ว่าไม่ใช่พระอีกต่อไปแล้ว เป็นคนที่หลอกลวงคนเขลาอย่างที่พระองค์ตรัส
วันอาทิตย์ ที่ 13 พฤษภาคม 2550
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น