วันนี้(13มี.ค.) ช่วงเช้าได้พาหลวงพ่อไปโรงพยาบาลศรีธัญญา จึงได้นำเหตุการณ์ที่พบมาเล่าให้ได้ทราบ โดยให้หัวข้อว่า "ฝากบล็อกผมด้วยพาหลวงพ่อไปร.พ.ศรีธัญญา" ความว่า
"ไม่ต้องตกใจนะครับว่าผมพาหลวงพ่อผมไปโรงพยาบาลศรีธัญญา แล้วจะมีญาติคนอื่นหรือใครไปแจ้งความกับตำรวจว่าผมจะพาหลวงพี่ไปกักขัง จนกลายเป็นเรื่องราวใหญ่โต
เพราะนี้คือกิจวัตรที่ผมจะต้องปฏิบัติเป็นประจำมาเกือบปีแล้ว จะพาไป 1 เดือนหรือ 2 เดือนครั้งตามแพทย์นัด อย่างที่เคยเขียนไว้ที่เรื่อง "สุดเศร้า!!!ลูกทิ้งพ่อจากบ้านลามถึงวัดแล้ว"
แต่จากการที่ได้ไปสัมผัสโรงพยาบาลศรีธัญญา มีความรู้สึกที่แตกต่างไปจากที่ไม่เคยไปสัมผัสมากนัก แบบหน้ามือเป็นหลังมือ เพราะคนที่นี้เขาอยู่กันอย่างเอื้ออาทร พึ่งพาอาศรัยซึ่งกันและกัน ใครที่มีการอาการดีขึ้นบ้างแล้วก็จะช่วยเหลือคนที่มีอาการหนัก จึงทำให้แพทย์พยาบาลที่นี้เบาแรงมากถึง เขาพบหน้ากันก็ยิ้มแย้มแจ่มใส ไม่มีการตีสองหน้าเหมือนสังคมข้างนอก
เมื่อจะร้องไห้เขาก็ร้องจริง ๆ อย่างวันนี้มีผู้ป่วยคนร้องไห้เพราะมีการอาการกลัว ทุกคนที่ไปโรงพยาบาลไม่ว่าจะเป็นคนช่วยหรือญาติต่างมองไปที่เสียงนั้นอย่างพร้อมเพรียง เชื่อแน่ว่าทุกคนจะมีความรู้สึกสงสาร
แต่เท่าที่สังเกตุวันนี้จำนวนผู้ป่วยจะมากขึ้นตัวเลขเท่าที่ประมาณ 300 คนได้ อายุเฉลี่ย 12-60 ปีขึ้น
ได้เห็นความเอาใจใส่ของครอบครัวที่มีต่อผู้ป่วย ลูกพาพ่อ-แม่ หรือแม่-พ่อพาลูก สามีพาภรรยาไปโรงพยาบาล
แต่สิ่งหนึ่งที่น่าสังเกตุก็คือพระที่ไปโรงพยาบาลนั้นจะมีแต่ญาติ ลูก คนฝ่ายพาไป ไม่เห็นพระหรือเณรด้วยกันเป็นภาระ พระบางรูปมีลูกเป็นผู้หญิงเป็นพาไป ดูแล้วก็ทำสังอนาถใจวงการสงฆ์อยู่เหมือนกัน เพราะพระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า คนที่อุปัฏฐากคนป่วยได้อานิสงส์มากกว่าดูแลพระองค์
สิ่งที่ได้พบในโรงพยาบาลศรีธัญญา ชั่งตรงกันข้ามกับสังคมคนปกติ ดูอย่างการขับรถ ก็มีแต่จะแย่งเพื่อให้ตัวเองไปถึงจุดเป้าหมายให้เร็วที่สุด แซงในที่ห้ามแซง ทุกวันนี้ถึงไม่อยากที่จะขับรถเท่าไร ไม่มีการให้ทางกันหรือหลีกเพื่อให้อีกคันไปก่อน คิดแต่เพียงว่า ข้าแซงได้คือผู้ชนะ
ขณะเดียวกันสังคมในองค์กรทำงานก็มีการแข่งขันกัน แบ่งพรรคแบ่งพวก ถ้าไม่ใช่พวกตัวเองก็อย่างหวังจะได้ 2 ขึ้น หรือมีการขึ้นเงินเดือนพิเศษ พอเข้าตาจนต้องมีการเอาคนออก ก็เฉกหัวพวกที่ไม่ใช่พวกของตัวเองออกไปก่อน เพราะถือหลักค่าของคนอยู่ที่คนของใคร จะชมเชยหรือยกย่องกันอีกทีก็ตอนตายแล้วจะมีประโยชน์อะไร
แบบนี้เป็นคนบ้าอย่างหมอประกิตเผ่าดีมะ"
ตกตอนเย็นได้อ่านความเห็นของ รศ.นพ.รณชัย คงสกนธ์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลรามาธิบดี อาจารย์ประจำภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ที่เสนอให้ประเทศไทยมีกฎหมายสุขภาพจิตได้แล้ว
รศ.นพ.รณชัย ได้ให้เหตุผลว่า บทเรียนจากคดี นพ.ประกิตเผ่า ทมทิตชงค์ ผู้ป่วยจิตเวชที่กลับบานปลายเป็นที่สนใจของสังคมนั้น ถือเป็นบทเรียนที่ทำให้สังคมได้รับรู้ว่าปัญหาการเจ็บป่วยทางจิตพบได้กับคนทุกระดับ และมีแนวโน้มพบโรคทางจิตเพิ่มสูงขึ้น
ความยุ่งยากของครอบครัวทมทิตชงค์ภายหลังนำคนในครอบครัวเข้ารักษาในโรงพยาบาล เป็นสิ่งยืนยันว่า ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรมีกฎหมายสุขภาพจิต เป็นการเฉพาะ ขอเรียกร้องไปยังฝ่ายนโยบายให้ตระหนักถึงปัญหานี้ เนื่องจากโรคทางจิตเวชแตกต่างจากโรคทางกาย โดยผู้ป่วยเป็นโรคทางกายจะเป็นผู้เดินทางไปหาหมอเพื่อรักษา
ส่วนผู้ป่วยจิตเวชส่วนใหญ่จะหลุดจากการรับรู้สภาพความจริง จึงไม่ได้รับการรักษาโรคตั้งแต่เนิ่น ๆ การมีกฎหมายจะเป็นช่องให้ผู้ป่วยได้รับการคุ้มครองดูแลรักษา ป้องกันการทำร้ายตัวเอง ทำร้ายคนรอบข้างจากภาวะที่หลุดจากโลกของความจริง ปัจจุบันทั่วโลกร้อยละ 60 มีกฎหมายสุขภาพ
ขณะที่ร้อยละ 40 ไม่มีกฎหมายดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นประเทศแถบแอฟริการวมทั้งประเทศไทยด้วย กฎหมายสุขภาพจิตในต่างประเทศจะเน้นเนื้อหาสำคัญ 3 ข้อ คือ 1. สิทธิของผู้ป่วยโรคจิตเวชในการรักษา เปิดให้บังคับรักษาผู้ป่วยจนกว่าอาการจะดีขึ้น 2. มีการขอความเห็นที่ 2 จากแพทย์คนอื่น ก่อนวินิจฉัยว่าป่วยหรือไม่ และ 3. กฎหมายบังคับรักษาผู้ป่วยได้ในโรงพยาบาลเอกชนและรัฐบาล
จากประสบการณ์ที่สัมผัสด้วยตัวเองแล้ว เห็นด้วยกับคุณหมอเป็นอย่างยิ่ง คงจะทำให้ผู้ป่วยโรคจิตได้รับการดูแลดียิ่งขึ้น
วันพุธ ที่ 14 มีนาคม 2550
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น