วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2552

ฝึกมโนมยิทธิกับหลวงพ่อฤาษีลิงดำทำหมอประกิตเผ่าเป็นบ้าจริงหรือ

หลังจากเกิดกรณีที่ น.พ.ประกิตเผ่า ทมทิตชงค์ เจ้าของสถาบัน “แอพพลายด์ฟิสิกส์” ถูกมารดา พี่ชายและภรรยา นำตัวเข้ารักษาอาการทางจิตที่โรงพยาบาลศรีธัญญา เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ น.พ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีธัญญา ได้แถลงสรุปมีอาการเป็นโรคทางจิต
พร้อมกันนี้สื่อได้ขุดคุ้ยประวัติทำให้ทราบว่าวัดที่ น.พ.ประกิตเผ่า ไปบวชและปฏิบัติรรมคือวัดจันทราราม หรือวัดท่าซุง ต.ท่าซุง อ.เมือง จ.อุทัยธานี ของพระราชพรหมยาน หรือ "หลวงพ่อฤาษีลิงดำ" ที่มีชื่อเสียงโด่งดังมานานทางด้านอิทธิฤทธิ์ เวทมนต์ รวมถึงพระเครื่องก็ได้รับความนิยม
เนื่องจากที่วัดแห่งนี้เน้นการปฏิบัติธรรมด้านสมถกรรมฐาน โดยมีเป้าหมายหนึ่งของการปฏิบัติคือ "มโนมยิทธิ" หมายถึงมี "พลังจิต" หรือชาวบ้านเรียกว่ามี "เวทมนต์"
ก็อย่างที่เคยกล่าวไว้แล้วว่า วิธีการฝึกจิตมี 2 ทางคือ "สมถกรรมฐานกับวิปัสสนากรรม"
วิธีการฝึกจิตแบบสมถกรรมฐานจนเกิดสมาธิจนได้ฌาณขั้นหนึ่งถึงจะสามารถมี "อิทธิฤทธิ์-เวทมนต์" ได้ แต่ถ้าไม่สติสติกำกับให้ดีแล้วก็เกิดอาการหลงและมีสิทธิ์เป็น "บ้า" ได้เช่นกัน สำหรับ "วิปัสสนากรรมฐาน" ไม่มีความสามารถเช่นนี้แต่จะมีสติสามารถควบคุมอารมณ์ที่เข้ามาได้ "รู้ชั่ว-รู้ดี"
พระพุทธเจ้าจึงทรงสนับสนุนให้สาวกของพระองค์ฝึกจิตแบบ "วิปัสสนากรรมฐาน" เจริญ "สติปัฏฐาน" 4 คือ การเคลื่อนไหวของร่างกาย อาการเจ็บปวด ภาวะที่เกิดทางจิต ภาวธรรมต่าง ๆ มีสติอยู่กับปัจจุบันขณะ
การปฏิบัติสมถกรรมฐานเป้าหมายทางพุทธศาสนาก็คือทำให้จิตมีพลังเพื่อที่ก้าวสู่การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานให้รู้สภาวธรรมตามความเป็นจริง
ดร.วัลลภ ปิยมโนธรรม ที่ปรึกษาศูนย์ให้คำปรึกษาสุขภาพจิต มศว กล่าวทางเนชั่นทีวีคืนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ยกมาสนับสนุนว่า การเข้าวัดใช้กับคนที่มีปัญหาสุขภาพจิต มานาน ซึ่งเป็นอาการเริ่มต้น แต่คนป่วยอาจไม่รู้ว่าเป็น
"เรื่องนี้เป็นเรื่องของคนดีทั้งสิ้น ทั้งนี้เมื่อมีการปฏิบัติธรรมบางครั้งไม่เข้าใจก็อาจแกว่งไปได้ เคยมีกรณีที่คนในครอบครัวไม่เข้าใจว่าเป็นโรคจิต จนกระทั่งไปเจอที่ใต้เตียงและคลุมผ้าเหลือแค่ลูกตา ซึ่งการเป็นโรคจิตไม่จำเป็นต้องอาละวาด บางกรณีเกี่ยวข้องกับสารเคมี เกิดจากการความเครียดและเรื้อรัง หรือทานางบางอย่างทำให้สมองฉับพลันวุ่นวาย" ดร.วัลลภ กล่าวและว่า คนดีเกินไปมักจะเป็นโรคจิตเพราะแสดงอะไรที่ไม่ดีไม่ได้ เป็นการห่วงคนอื่นมากกว่าห่วงตนเองคนไข้แต่ละคนมีเหตุมีผลแต่ไม่สมเหตุสมผล ซึ่งการพิสูจน์ว่าใครเป็นโรคจิตมีแนวคิดแบบสากลซึ่งเราไม่ได้คิดเอง อย่างไรก็ตามคนที่เป็นโรคจิต มีมากที่ยังดำเนินชีวิคได้อย่างปกติเพราะสิ่งที่อยู่ภายในยังไม่ได้รับกระตุ้น
คำว่า "มโนมยิทธิ" "หลวงพ่อฤาษีลิงดำ" ได้อธิบายไว้ในหนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน หน้า 4-5 แปลว่า มีฤทธิ์ทางใจ ในที่นี้ท่านหมายเอาการถอดจิตออกจากร่าง แล้วท่องเที่ยวไปในภพต่างๆ ความจริงมโนมยิทธินี้ ท่านจัดไว้ในส่วนอภิญญา แต่เพราะท่านที่ทรงวิชชาสาม ก็สามารถจะทำได้ จึงขอนำมากล่าวไว้ในวิชชาสาม เป็นต้นคลิ๊กอ่านเพิ่มเติมเถิด และจากการศึกษาผลงานของ "หลวงพ่อฤาษีลิงดำ" จะเน้นเรื่องนี้มาก
การฝึกมโนมยิทธิ มโนมยิทธิเป็นส่วนหนึ่งของอภิญญา มีกล่าวถึงในวิสุทธิมรรค ของพระพุทธโฆษาจารย์ เมืองสะเทิม มโนมยิทธิ หมายถึง มีฤทธิ์ทางใจ พระราชพรหมยานหรือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ ท่านได้เรียนมาจากฆราวาสชื่อ อาจารย์สุข และได้นำมาฝึกสอน ลูกศิษย์ ผู้ที่ฝึกได้จึงต้องมีอัชฌาสัย ทางฉฬภิญโญเท่านั้น ผู้ที่ฝึกแล้ว ไม่ได้ จึงมีอยู่ การเริ่มต้น ควรไปฝึกที่วัดท่าซุง จ. อุทัยธานี หรือบ้านสายลม (ถนนพหลโยธินซอย 8 ) กรุงเทพ ฯ จะมีคณะครูคอยแนะนำ
การฝึกเบื้องต้น ผู้ที่จะฝึกอย่างน้อยขณะที่ฝึกต้อง
มีศีล 5 บริสุทธิ์
มีพรหมวิหารประจำใจเป็นปกติ
ต้องไม่มีนิวรณ์ 5
ต้องมีศรัทธา
ต้องมีอิทธิบาท 4
เมื่อพร้อมแล้ว สวดมนต์บูชาพระ สมาทานกรรมฐานแล้ว ทำจิตให้สบาย ละ วาง ขันธ์ทั้งหมด และภาระทางโลก ระลึกถึงครูบาอาจารย์ และพระพุทธองค์ ขอท่านโปรดสงเคราะห์ด้วย แล้วจึงเริ่มภาวนา หายใจเข้าว่า “นะมะ“ หายใจออกว่า “พะทะ” เวลาภาวนา ให้จิตจดจ่อต่อคำภาวนา เฉย ๆ และรู้ลมหายใจเข้าออกด้วย จนกว่าจิตสงบ
กำหนดภาพนิมิต เช่นพระพุทธรูป เป็นต้น ให้ภาพชัดเจนแจ่มใส แล้วกำหนดจิตออกไปกราบท่าน คราวนี้อยากไปไหน ก็ขอท่านผู้ที่มาสงเคราะห์นั้นให้พาไป หรืออยากรู้อะไรก็กำหนดจิตถามได้ การรู้การเห็นจะถูกต้องหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความสะอาดของจิตของท่านเอง เมื่อทำได้แล้วให้หมั่นทำบ่อย ๆ จนถึงขั้น ลืมตา รู้ เห็น และไม่ต้องตั้งท่านั่งสมาธิ
คำสมาทานตรงต่อพระพุทธเจ้าก่อนปฏิบัติธรรม อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจัชชามิ แปลว่าข้าแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอเสียสละ คือมอบเวนซึ่งอัตภาพนี้ แด่สมเด็จพระสรรเพชญสัมมาสัมพุทธเจ้า (แปลตามท่านแปลไว้ในแบบ) อีกแบบหนึ่งท่านแปลเอาความมีใจความที่ท่านแปลไว้ดังนี้ "ข้าแต่สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิตแด่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า"
อารมณ์หรืออุปกรณ์ในการปฏิบัติสมถกรรมฐานมี 40 ประการ เช่น 1. กสิณ 10 ประการ เช่น เพ่ง ดิน น้ำ ลม ไป
2.อสุภะ 10 ประการเช่นเพ่งซากศพ อนุสสติ 10 ประการเช่น บริกรรมพุทโธ กำหนดลมหายใจเข้าออก
3 .พรหมวิหาร ๔
4.อรูปฌาน ๔
5.อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑
6.จตุธาตววัตถาน ๑
ส่วนวิปัสสนากรรมฐาน "หลวงพ่อฤาษีลิงดำ" ได้กล่าวไว้ในหนังสือ คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน หน้า 63-64

วันพฤหัสบดี ที่ 1 มีนาคม 2550

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Google