วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ปี้น้องไทร่วมงาน"ปอยยกย่องครูหมอไตย"แม่อาย



งานประเพณียกยองครูหมอไตย หรืองานเชิดชูเกีรยติ นักประพันธ์ หรือนักปราชญ์ ไทใหญ่ ได้จัดขึ้นในเดือนกมภาพันธ์ ของทุกปี ที่บ้านใหม่หมอกจ๋าม ตำบล ท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ส่วนปี 2554 นี้ เป็นการจัดขึ้นครั้งที่ 35 จะตรงกับวันที่ 16 ถึง 17 กุมภาพธ์ (ขึ้น 13 ค่ำ ถึง 14 ค่ำเดือนสาม) ในงานจะมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมของชาวไทยใหญ่ที่หาชมได้ยาก เช่นการฟ้อน กิงกะหล่า ฟ้อนโต จ้าดไต การร้องเพลงไทใหญ่ทั้งสมัยเก่าและสมัยใหม่ การแข่ง ขันต่างๆ อันเกี่ยวกับประเพณีชาวไทใหญ่

งานประเพณียกยองครูหมไตย จัดขึ้นโดยมัวัตถุประสงค์เพื่อจะได้รำลึกถึงบุญคุณ ของครูบาอาจารย์ ซึ่งเป็นนักประพันธ์ หรือนักกวี ที่มีชื่อเสียง ทั้งหลายของชาวไต (ไทใหญ่) ที่ด้ล่วงลับไปแล้ว เพื่อเป็นการรำลึกถึงบุบคุณท่านเหล่านั้น ซึ่งได้ ประพันธ์ ศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณี อันดีงามของชาวไทใหญ่ ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ตวามรู้เรื่องราวต่างๆ ไว้ให้กับลูกหลานชนรุ่นหลัง ได้ศึกษาหา ความรู้กัน อีกทั้งจะได้ดำรงรักษาไว่มิให้สาบสูญ

วันครูหมอลิ่กไต"
ความหมายของคำว่า “ครูหมอ” ในภาษาไต หรือไทใหญ่ อาจเปรียบเทียบกับ ภาษไทยได้ว่า หมายถึงนักปราชญ์ผู้ที่รอบรู้ มีความชำนาญในศิลปะ วิชาการต่างๆ จนสามารถนำมาถ่ายทอด อบรม สั่งสอนให้ลูกหลานและ เป็นตำรับตำราไว้ ให้แก่ อนุชนรุ่นหลังได้ บุคคลเช่นนั้น เรียกว่า “เจ้าครูหมอ”

ครูหมอไต เป็นคำเรียกครูอาจารย์ หรือผู้มีความเชี่ยวชาญ ชำนาญในการคิดค้น ภูมิปัญญา ปรัชญา คำสอนที่เป็นประโยชน์แก่คนทั่วไป
วันครูหมอลิ่กไต หรือ “วันยกย่องครูหมอไต” (วันไว้ครู) หรือเชิดชู ครูบาอาจารย์ ซึ่งเป็นนักประพันธ์ หรือนักกวี ที่มีชื่อเสียงทั้งหลายของชาวไต ที่ได้ล้วงลับไปแล้ว เพื่อจะได้รำลึกถึงบุญคุณท่านเหล่านั้น ที่ได้ประพันธ์ ศิลปวัฒนธรรม และ ขนบ ธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญาพื้นบ้าน ความรู้เรื่องราวต่างๆ ไว้ไห้กับ ลูกหลานได้ ศึกษาหาความรู้ อีกทั้งจะได้รักษาไว้มิไห้สาบสูญ

ความเป็นมาวันครูหมอลิ่กไต
วันที่ อนุมัติ
วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968)
วันที่หนึ่ง (แรมหนึ่งค่ำ) เดือนหก จุลศักราช 1330
สถานที่ ที่ทำการ “ปี่ฎะก้าด” (พระไตรปิฏก) คณะกรรมการกลางอนุรักษ์วรรณคดี และวัฒนธรรมไต เมืองต่องจี (ต้นตี), เมืองหลวงของ รัฐฉาน (เมืองไต)


อนุมัติว่า วันที่หนึ่ง (ขึ้นหนึ่งค่ำ) เดือนสิบสอง ของทุกๆปี เป็นวัน “ครูหมอลิ่กไต”
อนุมัติโดย
คณะกรรมการกลางอนุรักษ์วรรณคดี และวัฒนธรรมไต แห่งรัฐฉาน (เมืองไต)
เหตุผลที่ได้คัดเลือก วันที่หนึ่ง (ขึ้นหนึ่งค่ำ) เดือนสิบสอง
ในบรรดานักประพันธ์ นักกวี หรือ “ครูหมอลิ่กไต” ของชาวไต ที่มีชื่อเสียง ที่ถึงแก่อนิจกรรมไปแล้วนั้น เท่าที่ค้นพบหาหลักฐานได้ เป็นบุคคลสำคัญ รุ่นหลัง (ประมาณ 500 ปีหลัง) เท่านั้น ได้แก่


เจ้าธรรมะติ่นนะ ( พ.ศ. 2085-2184)
เจ้ากางเสอ ( พ.ศ. 2331-2425)
เจ้ากอหลี่ ( พ.ศ. 2391-2454)
เจ้านางคำกู่ ( พ.ศ. 2397-2461)
เจ้าหน่อคำ ( พ.ศ. 2400-2439)
เจ้าอมาตย์หลวง เมืองหนอง (พ.ศ. 2398-2449)
เจ้าวอระแคะ ( พ.ศ. 2433-2491)
เจ้าปัญญาโภคะ ( พ.ศ. 2435-2514)


ในบรรดา (8) ท่านนี้ (6) ท่านแรก เป็นบุคคลที่ได้รับคัดเลือกก่อนเป็นครั้งแรก ส่วน (2) ท่านหลังได้รับคัดเลือกเพิ่มเดิมภายหลัง ใน(6) ท่านแรกนั้น ยกเว้น เจ้าหน่อคำ ที่เหลือ (5) ท่าน บังเอิญเป็นบุคคลที่เกิดในเดือนสิบสองทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นจึงได้คัดเลือกเอา เดือนสิบสองเป็นเดือนของ “ครูหมอลี่กไต”

สาเหตุที่ได้คัดเลือกเอา วันที่หนึ่ง(ขึ้นหนึ่งค่ำ) ก็เพราะว่า ในบรรดา (6) ท่านแรกนั้น เจ้ากางเสือ เป็นบุคคล ที่มีผลงานที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมไตมากที่สุดเท่าที่ค้นพบ ในผลงานของท่านนั้น จะมีทั้งบทประพันธ์ และบทกวี ด้านวรรณกรรม วรรณคดีของท่านมากมาย อย่างเช่น เกี่ยวกับบทคำสอนต่างๆ, หนังสือเกี่ยวกับ โหราศาสตร์ , พุทธประวัติ, นิทานคำกลอน, บทละคร, เพลงยาว, บทประพันธ์ เกี่ยวกับสร้างความกล้าหาญ, พิชัยสงคราม, ด้านประวัติศาสตร์ไตเป็นต้น เท่าที่ค้นพบผลงานของท่านมีถึงเกือบ (200) เรื่องที่เดียว ผู้รู้บางท่านกล่าวว่ามีถึง (405)เรื่องก็มี เพราะฉะนั้น จึงได้คัดเลือกเอา วันที่หนึ่ง(ขึ้นหนึ่งค่ำ) เดือนสิบสอง ซึ่งเป็นวันเกิดของท่านเป็น ”วันครูหมอลิ่กไต” พี่น้องชาวไตทุกหนแห่งจึงได้จัดงานทำบุญรำลึกถึง คุณงามความดี ของ “เจ้าครูหมอลิ่กไต” เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

จุดมุ่งหมาย
วันครูหมอลิ่กไต เป็นวันที่ชนชาติไตได้เสาะแสวงหา ครูหมอ ผู้ที่มีความรู้ ความ ชำนาญ ในความรู้สาขาต่างๆ เพื่อนำมาเชิดชูยกย่อง ให้ปรากฏ ให้เห็นกันทั่วหน้า สำหรับครูหมอผู้ล่วงลับไปแล้วนั้นก็ได้รับการทำบุญกุศลอุทิศส่วนบุญให้ มีการ ทำทานให้ เช่นการสร้าง สะพาน ศาลา ถนน ทางเดิน โรงพยาบาล เป็นต้นโดยมี การเขียนชื่อครูหมอลิ่กไตกำกับไว้ สำหรับครูหมอที่ยังมีชีวิตอยู่ก็จะได้ให้ท่านเป็นที่รู้จักกันทั่ว เชิญท่านมารับการ ปรนนิบัติ เชิดชูยกย่อง ให้ปรากฏแก่ท่านทั้งหลาย การกระทำดังกล่าว เป็นภาระ หน้าที่ ของชาวไตทุกคน และเพื่อไม่ให้ ความรู้ ศิลปะ วัฒนธรรม อันดีงามต่างๆ ที่มีมาครั้งดั้งเดิมนั้นสูญหายไป ตรงกันข้าม ควรให้มีการฟื้นฟู ปรับปรุง ดำรงรักษา สืบทอดแพร่ขยาย ให้แก่อนุชนรุ่นหลัง ให้ได้เรียนรู้กัน ประเพณีงานเชิดชูเจ้าครูหมอลิ่กไตจึงได้ถูกจัดขึ้นกัน ในวันที่หนึ่ง(ขึ้นหนึ่งค่ำ) เดือนสิบสอง ของทุกๆปี ตามหัวเมืองใหญ่ต่างๆทั่วรัฐฉาน

สำหรับงานประเพณีครูหมอลิ่กไต ในประเทศไทยนั้น ได้จัดขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี ที่บ้านใหม่หมอกจ๋าม ตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวไต หมู่บ้านดังกล่าว เดิมได้จัดงาน "ปอยครูหมอลิ่กไต" ตามหัว เมืองใหญ่ต่างๆในรัฐฉาน แต่หลังจากปี 2522 เป็นต้นมาได้ย้ายมาจัด ฉลอง ให้ตรงกับวันมาฆบูชา (วันขึ้น 15 ค่ำเดือนสาม)ของทุกๆปี เพื่อความสะดวกแก่พีืน้องชาวไต ในประเทศไทย


หมายเหตุ - "วันเจ้าครูหมอไต" คือวันที่หนึ่ง (ขึ้นหนึ่งค่ำ) เดือนสิบสอง

"วันปอยยกย่อเจ้าครูหมอไต" อาจไม่ตรงกับ "วันเจ้าครูหมอไต" ก็ได้

www.shaninform.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Google