วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

อินโด-มาเลย์รับมือกับวิกฤตอาหารไทยยังไม่นำพา

เว็บไซต์ซีอาร์ไอทางการของจีนรายงานว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแหล่งที่ผลิตและบริโภคธัญญาหารสําคัญที่สุดของโลก ขณะนี้ ต้องเผชิญกับราคาธัญญาหารเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ และอาจจะเกิดวิกฤตธัญญาหารอีก ประเทศผู้ส่งออกธัญญาหารสําคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทยอยกันใช้มาตรการต่างๆ เพื่อรับมือกรณีนี้

มาตรการรับมือกับวิกฤตธัญญาหารของอินโดนีเซียที่เด่นชัดคือ ยกเลิกภาษีนําเข้าสินค้ากลุ่มธัญญาหาร

อินโดนีเซียเป็นประเทศผู้ผลิตและบริโภคธัญญาหารประเทศหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การขึ้นราคาธัญญาหารทั่วโลกเป็นเหตุให้ราคาสินค้าของอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นอย่างมาก ดัชนีราคาผู้บริโภคเพิ่มเรื่อยๆ

ตามสถิติ ดัชนีราคาผู้บริโภคในปี 2010 คือ 6.96% มากกว่าเป้าหมายของรัฐบาลตั้งไวก่อนหน้านี้ คือ 4-6% รัฐมนตรีกระทรวงประสานกิจการเศรษฐกิจอินโดนีเซียกล่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่า เพื่อปรับปรุงการสนองธัญญาหารภายในประเทศ ป้องกันไม่ให้ราคาธัญญาหารเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คงปริมาณธัญญาหารสํารองให้เพียงพอ รัฐบาลอินโดนีเซียตัดสินใจยกเลิกภาษีนําเข้าข้าวสาร แป้งสาลี ข้าวโพด และอาหารสัตว์ รัฐมนตรีกระทรวงประสานกิจการเศรษฐกิจอินโดนีเซียยังเน้นว่า เพื่อรับมือกับภาวะการณ์ที่ราคาธัญญาหารทั่วโลกพุ่งขึ้นจากปัจจัยสภาพอากาศเลวร้าย รัฐบาลอินโดนีเซียจะใช้หลายมาตรการต่อไป ให้ความสําคัญกับการพัฒนาแหล่งต้นนํ้าและนํ้าบาดาลเพื่อการเกษตร เขากล่าวว่า รัฐบาลอินโดนีเซียได้กําหนดเป้าหมายการผลิตข้าวสารในปีนี้ไว้ที่ 70 ล้านตัน เพิ่มขึ้นกว่าปี 2010 ประมาณ 4-5% หากสามารถบรรลุเป้าหมายได้ อินโดนีเซียก็ไม่ต้องนําเข้าข้าวสารจากต่างประเทศ แต่ถ้าไม่สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อการสํารองข้าวสารเพื่อการบริโภคภายในประเทศ

ในอีกด้านหนึ่ง เจ้าหน้าที่กรมการค้าภายในของอินโดนีเซียกล่าวในการสัมมนาเกี่ยวกับการเพิ่มปริมาณการผลิตข้าวสารที่จัดขึ้นโดยกระทรวงเกษตรอินโดนีเซียเมื่อเร็วๆ นี้ว่า เนื่องจากปีที่แล้ว ปริมาณการผลิตข้าวสารลดน้อยลง ไม่สามารถสนองความต้องการในการสํารองข้าวสาร ด้วยเหตุนี้ิ รัฐบาลอินโดนีเซียได้อนุมัติให้กรมการค้าภายในนําเข้าข้าวสาร 1.5 ล้านตัน เพื่อมีข้าวสํารองเพียงพอกับการบริโภคภายในประเทศ
นอกจากนี้ อินโดนีเซียได้เตรียมจัดสรรข้าวโดยในไตรมาสแรกปี 2011จะจัดสรรข้าวสาร 1 ล้านตันให้แก่ประชาชนผู้ยากจน ส่วนข้าวสารที่นําเข้านั้นจะได้รับสินค้าก่อนเดือนมีนาคม ซึ่งได้เซ็นสัญญาซื้อข้่าวสาร 1.23 ล้านตันจากไทยและเวียดนามแล้ว

นี่เป็นมาตรการที่อินโดนีเซียใช้ในการรับมือกับวิกฤตธัญญาหารในปัจจุบัน

ส่วนมาตรการรับมือกับธัญญาหารของมาเลซีย ที่สําคัญก็คือ เปิดฐานปลูกธัญญาหารในต่างประเทศ

หลังจากเกิดวิกฤตธัญญาหารโลกปี 2008 เป็นต้นมา รัฐบาลมาเลเซียเริ่มนโยบาย"ความมั่นคงด้านธัญญาหาร" เพื่อสร้างหลักประกันว่าสามารถสนองธัญญาหารเพื่อการบริโภคภายในประเทศได้ ก่อนหน้านี้ นายนาจิบ ราซัค นายกรัฐมนตรีมาเลเซียประกาศว่า รัฐบาลวางแผนร่วมมือกับหลายประเทศ กําหนดไห้บางพื้นที่ในประเทศที่เกี่ยวข้องเป็นฐานปลูกธัญญาหารของมาเลเซีย การกระทําเช่นนี้ไม่เพียงแต่สามารถเพิ่มปริมาณการผลิตธัญญาหารและการสนองธัญญาหารของมาเลซียเท่านั้น หากยังประหยัดต้นทุนด้วย

นายนาจิบ ราซัคยังกล่าวว่า ยกตัวอย่าง ข้าวเปลือก มาเลเซียไม่สามารถปลูกข้าวเปลือกเพื่อสนองความต้องการภายในประเทศได้ ฉะนั้น รัฐบาลมาเลเซียจึงได้เจรจากับรัฐบาลประเทศอื่นๆ ถึงความเป็นไปได้ในการพัฒนาบางพื้นที่ในต่างประเทศเพื่อปลูกข้าวเปลือก การกระทําอย่างนี้จะทําให้ต้นทุนตํ่ากว่าการพัฒนาพื้นที่เพาะปลูกข้าวเปลือกในมาเลซียเอง

แหล่งข่่าวแจ้งว่า ปัจจุบัน มาเลเซียได้ร่วมมือกับหลายประเทศ เช่น อินโดนีเซีย สร้างฐานปลูกธัญญาหารต่างประเืทศ

นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาถึงความสําคัญของกิจการเกษตรจะพบว่าเป็นกิจการที่สําคัญมากในโครงการปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจของมาเลเซีย รัฐบาลมาเลเซียหวังว่าจะใช้โครงการนี้เพิ่มรายได้และกําลังการผลิตของเกษตรกรในชนบท หวังว่าจะสามารถช่วยเหลือกิจการเกษตรขนาดเล็กหรือกิจการขนาดย่อมให้พัฒนาเป็นกิจการเกษตรขนาดใหญ่หรือกิจการของส่วนรวม

ตามสถิติ ระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนกรกฎาคมปี 2010 ยอดการส่งออกธัญญาหารของมาเลเซียมีประมาณ 20,200 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 12.3% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Google