วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ธรรมพารวย-รวยเท่าใดก็ไร้ค่าหากปัญหาสุขภาพมาเยือน

พิจิตรา บุษย์ปราชญ์ ได้เริ่มต้นของการเขียนหนังสือ "ธรรมาพารวยขึ้น" ด้วยเรื่อง"สร้างสุขภาพให้ดีก่อนที่จะสร้างความรวย" อันดับแรก โดยแยกลักษณะของพนักงานของบริษัทเป็น 3 ประเภทคือ

ประเภทแรกเป็นคนมีนิสัยร่าเริง มนุ ษยสัมพันธ์ดี แต่ไม่ค่อยสนใจการงานมักจะลางานอยู่เสมอเพราะตกเย็นก็ไปสังสรรค์กับเพื่อน

ประเภทที่สองคือ เป็นคนมุ่งมั่นทำงานหามรุ่งหามค่ำ ไม่มีคำว่า "ลา" ก็มีความเจริญในหน้าที่การงานดี เป็นที่ยกย่อง แต่ว่าเป็นคนที่สนใจสุขภาพในที่สุดก็เข้าโรงพยาบาลแต่ตายก่อนเวลาอันควร

ประเภทที่สามคือเป็นที่คนมีลักษณะเหมือนกับประเภทที่สองแต่ว่าเป็นคนสนใจเรื่องสุขภาพมาเป็นที่หนึ่งแต่การงานไม่เสีย ปฏิบัติตามหลักบัญญัติของกระทรวงสาธารณสุข 5 อ. คือ อาหารดี อากาศดี อารมณ์ดี ออกกำลังกาย และอุจจาระดี

ตอนท้ายของบทนี้ พิจิตรา ได้ยกหลักธรรมว่าด้วย โพชฌงค์ 7 คือธรรมที่ช่วยกำจัดกิเลสและโรคภัยให้พ้นไปคือ 1. สติ ความระลึกได้ 2. ธรรมวิจยะ การวินิจฉัยธรรม 3. วิริยะ ความเพียร 4. ปีติ ความอิ่มใจ 5. ปัสสัทธิ ความสงบ 6. สมาธิ จิตตั้งมั่น 7. อุเบกขา ความวางเฉย

และท้ายสุดได้ยกถึงสาเหตุของโรคคือ เกิดตามฤดูกาล เกิดเพราะพันธุกรรม เกิดเพราะจิตคิดไปเอง เกิดเพราะผลแห่งกรรม และเกิดจากภายในของบุคคลนั้นๆเอง

ก็มีจุดที่น่าพิจารณาก็คือว่า ชาวพุทธทั่วไปแล้วจะสนใจเกี่ยวกับหลักโพชฌงค์ 7 ประการในแง่ของการนิมนต์พระมาสวดให้ผู้ป่วยได้ฟังบางคนก็หายบางคนก็ไม่หาย แต่ความเป็นจริงแล้วหากนำโพชฌงค์ 7 ประการไปกำกับหลัก 5 อ. ก็จะได้ประโยชน์ยิ่ง ซึ่งถือว่าเป็นหลักธรรมที่รักษาสุขภาพชั้นยอด

อันดับแรกก็คือใช้สติและธรรมวิจยะกำกับอาหารและอากาศว่าสิ่งใดที่เกิดประโยชน์ต่อร่างกาย หลังจากนั้นก็ใช้ วิริยะและสมาธิกำกับไม่ให้หลงไปในสิ่งที่เป็นโทษต่อร่างกาย ก็ย่อมจะเกิดปีติและปัสสัทธิ แต่ถ้าหากได้รับสิ่งที่เป็นโทษต่อร่างกายโดยที่เราไม่ตั้งใจบ้างก็ต้องใช้อุเบกขาและหาทางหลีกเลี่ยงอย่างชาญฉลาดโดยที่ไม่ใช้ความโกรธครอบงำ

หากเราใช้หลักโพชฌงค์ 7 ประการมาใช้ในการรักษาสุขภาพของเราเช่นนี้แล้วก็ไม่จำเป็นต้องรอให้พระมาสวดให้ฟังหรือเวลาที่พระสวดแต่ไม่ได้ยินแล้ว

นอกจากนี้ยังมีหลักธรรมที่เกี่ยวกับการบริโภคของชาวพุทธโดยรู้จักค่าแท้และคุณค่าเทียมของอาหารและก่อนที่เราจะเอาอะไรเข้าร่างกายก็ต้องพิจารณาก่อนเสมอว่ามีคุณค่าต่อร่างกายหรือไม่ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าแม้นแต่เรื่องการกินพระพุทธองค์ก็ยังไม่ให้ความสำคัญ ไม่ใช่จะมุ่งแต่จะไปนิพพานแบบโลกุตตระเท่านั้นนะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Google