วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เปิดประมูล3จีล่าช้า"ใคร-อะไร"คือตัวถ่วง

การเปิดประมูลใบอนุญาต (ไลเซ่นส์) 3จี มาถึงจุดที่ต้องรอให้ถึงเดือนกุมภาพันธ์ปี 2553 ตามที่นายเศรษฐพร คูศรีพิทักษ์ หนึ่งในคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ออกมาคาดการณ์ไว้จากเดิมที่กำหนดไว้ประมาณปลายปี2552

กทช.ยังสงสัยอำนาจหน้าที่จัดประมูล3จี

เหตุผลใหญ่อยู่ที่ยังไม่ชัดเจนในอำนาจหน้าที่ของ กทช.ว่า มีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินการประมูล ตามรัฐธรรมนูญปี2550หรือไม่ หรือว่าจะต้องรอให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ก่อน
ดังนั้น ในสัปดาห์หน้าประมาณวันอังคารหรือพุธ กทช. จะเรื่องนี้ก่อนทำหนังสือยื่นถามส่งไปยังผู้ตรวจการแผ่นดิน ก่อนยื่นสอบถามศาลรัฐธรรมนูญต่อไป


ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้ประมาณกลางปี 2549 คณะกรรมการกฤษฎีกาก็ได้ให้ความเห็นไว้ว่าสามารถให้ดำเนินการได้ นั้นเป็นความเห็นตามรัฐธรรมนูญปี 2540 และมีการคาดการณ์ไว้ว่าปี 2550 ประเทศไทยจะมี 3 จีใช้

แต่เมื่อมีการฉีกรัฐธรรมนูญปี 2540 และเขียนรัฐธรรมนูญปี 2550 ขึ้นมาโดยมีการรวมคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) และคณะกรรมการกำกับดูแลกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.)ตาม รัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (กสทช.)
ทั้งนี้คงไม่มีปัญญาตั้ง กสช. ขึ้นมาได้จึงจับมารวมกันเสียเลยง่ายดี และขณะนี้ร่างพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมก็อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะประกาศใช้ได้เมื่อใด


ขณะเดียวกันหาก กทช.มีมติส่งเรื่องต่อผู้ตรวจการแผ่นดินเพื่อส่งเรื่องศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัย เมื่อเป็นเช่นนี้จริงก็ไม่มีความชัดเจนอีกว่าเมื่อใดถึงจะพิจารณาเสร็จ เพราะกรอบระยะเวลาการพิจารณาขององค์กรอิสระไม่มีความชัดเจน ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างประกอบรวมถึงแรงบีบด้วย จึงไม่แน่ว่าเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้าจะได้เริ่มประมูลหรือไม่ตามที่นายเศรษฐพรระบุ

อย่ามองข้ามตัวถ่วงจากภาคการเมือง

หากสมมุติว่ากทช.สามารถเปิดประมูลเสร็จแล้วก็ใช้ว่าเอกชนจะสามารถดำเนินการได้ทันที เชื่อแน่ว่าพวกแรงต้านคงจะต้องดิ้นอย่างแน่นอน ซึ่งก็คงจะเห็นตัวอยู่แล้วว่าแรงต้านคือใครบ้างไม่ว่าจะเป็น ส.ส. ส.ว.หรือแม้นแต่สหภาพ ทีโอที และภาคเอกชน คงจะมีการเข็นเรื่องไปสู่ศาลปกครองอย่างแน่นอนอย่างที่มีการเข็นกันอยู่

ขณะเดียวกันเสียงจากรัฐบาลก็ดูเหมือนว่าจะเป็นแรงดึงอยู่ไม่น้อยทั้งๆรู้อยู่ว่า 3 จี จะมีส่วนช่วยในการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทางก็ตาม เพราะจากเสียงของนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า กทช. มีส่วนสำคัญต่อการเกิดประมูล 3 จี มีหน้าที่กำกับดูแลให้เกิดการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม ดังนั้น จึงต้องหารือร่วมกับรัฐบาล กระทรวงการคลัง กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ให้ได้แนวทางและข้อสรุปชัดเจนในประเด็นต่างๆ ก่อนประมูล 3 จี

"กทช.คงพูดว่าไม่ใช่บทบาทหน้าที่จะช่วยให้ บมจ.กสท โทรคมนาคม และ บมจ.ทีโอที อยู่รอดได้เมื่อมีบริการ 3 จี เพราะ กทช.ต้องทำให้ทุกคนได้รับความเท่าเทียมกันในการแข่งขัน และกระทรวงการคลัง แม้ว่าจะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้ง 2 องค์กรรัฐวิสาหกิจแต่ก็ต้องการให้มีบริการ 3 จีในไทย หากต้องเกิดความชัดเจนในเรื่องที่ค้างคาก่อน" นายกรณ์กล่าว

ทั้งนี้ 2 เรื่องหลักที่ กทช.จะต้องหารือร่วมกันเพื่อให้เกิดความชัดเจนก่อนประมูลคลื่นความถี่ 3 จี ได้แก่ เรื่องแรก การป้องกันไม่ให้เอกชนที่ได้ใบอนุญาต 3 จี ใช้โอกาสนี้โอนย้ายลูกค้า 2 จี ไปสู่ 3 จี ประการต่อมา กทช.ควรคิดมูลค่าอายุสัมปทานที่เหลือเป็นจำนวนปี และจ่ายเงินเข้ารัฐ ซึ่งรูปแบบรายละเอียด วิธีการต้องหารือร่วมกัน จึงจะเป็นการสร้างความเป็นธรรมให้เกิดแก่ทุกฝ่ายก่อนเริ่มต้นแข่งขันในยุคใหม่ ของผู้ให้บริการมือถือด้วยการประมูลคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์

ทั้งๆที่รัฐบาลไม่มีอาจจะก้าวก่ายการดำเนินการของ กทช.เลยในทางปฏิบัติเพราะเป็นองค์กรอิสระ เพราะรัฐบาลก็มีสิทธิเพียงเสียงหนึ่งเหมือนกับประชาชนทั่วๆ ดังนั้นจะรอดูว่าเวทีประชาพิจารณ์วันที่ 12 พ.ย.นี้จะมีคนในรัฐบาลโผล่หน้าไปร่วมหรือไม่

กทช.กลายเป็นตัวถ่างเสียเอง

คณะองค์ของ กทช.จำนวน 7 คน มีการลาออกไป 1 คน และอีก 3 คนกำลังจะหมดวาระลงรวมถึงนายเศรษฐพรในวันที่ 12 พ.ย.นี้ และวุฒิสภาสรรหาคนมาแทนวันที่ 13 พ.ย.ตัดสินว่าจะเป็นใคร หาก กทช. คนใหม่ 3 คนไม่เห็นด้วยที่จะเร่งการประมูล
ก็คงจะมีการยื้อกันอีกเพราะนายเศรษฐพรเองก็ยอมรับว่า กทช.เองก็มีผู้ที่ไม่เห็นด้วยอยู่ 1 เสียง
ประเด็นมั่นคง-ต่างด้าว-ถ่ายโอนลูกค้าไร้ปัญหา


ข้อเป็นห่วงของนายกรณ์และบมจ.กสท โทรคมนาคม และ บมจ.ทีโอที เกี่ยวกับการโอนย้ายลูกค้า 2 จี ไปสู่ 3 จี นั้น ในเวทีสัมมนา "โอกาสและอุปสรรค 3G ในประเทศไทย" ที่หนังสือพิมพ์เดอะ เนชั่น จัดขึ้นโดยมีผู้บริหารเอกชนที่จะเข้าประมูลเข้าร่วมอย่างพร้อมเพียง

ทั้งนายนฤพนธ์ รัตนสมาหาร ผู้บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และนายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือเอไอเอส ต่างก็มีความเห็นตรงกันว่าการจะถ่ายโอนไม่ใช่สามารถทำได้ภายในวันสองวันซึ่งต้องใช้เวลาเป็นไปตามความสมัครใจของลูกค้าขณะเดียวกันประเด็นนี้นายเศรษฐพรก็ยังได้เปิดเผยว่าแผนพัฒนาพื้นความคลื่นถี่ของกระทรวงไอซีทีที่เสนอให้ครม.เห็นชอบเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2552 ที่กำหนดไว้ชัดเจนว่าเมื่อสิ้นสุดสัญญาสัมปทานแล้วลูกค้าก็จะถูกถ่ายโอนกลับ บมจ.กสท โทร
คมนาคม และ บมจ.ทีโอที เช่นเดิม


ข้อวิตกที่บริหารต่างชาติเข้าร่วมประมลไม่เปิดโอกาสให้บริษัทไทยได้เข้ามาดำเนินการอย่างความเห็นของนายศุภชัยนั้น "3 จี ควรคำนึงถึงประโยชน์ของคนไทยเป็นหลัก และเศรษฐกิจโดยรวมของไทย" หากพิจารณาตามนโยบายของรัฐบาล บีโอไอ หรือการเปิดเสรีโทรคมนาคม มีการส่งเสริมให้ต่างประเทศเข้ามาลงทุน เป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ทั้งนี้ก็อยู่ว่าจะส่งเสริมให้บริษัทลูกไทยมีความเข้มแข็งเทียมประเทศต่างชาติอย่างไร

ขณะที่ประเด็นความมั่นคงนั้นนายวิเชียรได้ยืนยันว่า การดักฟังนั้นก็มีกฎหมายกำกับอยู่ชัดเจน ส่วนเรื่องราคานั้น กทช.ก็ได้มีการเคาะตัวเลขแล้วว่า การประมูลใบอนุญาต (ไลเซ่นส์) 3จี บนคลื่น 2.1 เมกะเฮิร์ตซ จำนวน 10 เมกกะเฮิร์ตซ ในราคา 4,600 ล้านบาท และ 15 เมกะเฮิร์ตซ ราคา 5,200 ล้านบาท แม้นว่าราคาถูกกว่าคลื่นความถี่ 3 จี ของ
อังกฤษซึ่งมีราคาคลื่นอยู่ทื่ 1 แสนล้านบาทนั้นเป็นเพราะคลื่นความถี่ของไทยไม่สามารถนำไปขายต่อได้ หรือถ้าหากจะโอนก็ต้องถามมายัง กทช. ก่อน ขณะที่คลื่นความถี่ของอังกฤษเป็นการประมูลในลักษณะขายขาดไปเลย ซึ่งก็น่าจะสมเหตุสมผล แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ร่วมในเวทีสัมมนาก็คือ ความไม่ชัดเจนในหลายๆเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นระดับนโยบาย แผนงาน ฟังแล้วก็เศร้าใจ เมื่อถึงไฟลนก้นแล้วค่อยมานั่งเถียงกัน


ด้วยเหตุนี้ รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ทุกคนสนับสนุนให้เดินหน้าผลักดัน 3 จี เพราะที่ผ่านมาประเทศไทยมีความล่าช้ามามากแล้ว เพราะต้องคิดว่านี่คือประโยชน์สาธารณะอย่างหนึ่งที่ประชาชนจะได้รับโดยตรง


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Google