วันอาทิตย์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2552

ดร.พรชัย สุจิตต์ไขปริศนาลูกปัดสุริยเทพลูกปัดหน้าคนตาโต

หลังจาก "ลูกปัดสุริยเทพ" อายุกว่า 2 พันปี ถูกโจรกรรมจากงานแสดงหินและลูกปัดโบราณ อาคารนิทรรศการหมุนเวียน สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ หรือ มิวเซียมสยาม ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 4 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมหาราชวัง เขตพระนคร กทม. เมื่อเวลา 20.00 น.ของวันที่ 5 มี.ค. ขณะนี้ก็ผ่านไปหลายวันแล้วไม่มีทีท่าว่าตำรวจจับได้เบาะแสจับคนร้ายได้เลย จนกระทั้ง พล.ต.ท.วงพงษ์ ชิวปรีชา ผบช.น.ตั้งสั่งระดมทีมสืบออกไล่ล่ามือฉก แม้นว่าเจ้าของ ลูกปัด "ลูกปัดสุริยเทพ" นายแพทย์บัญชา พงศ์พานิช คนนครศรีธรรมราช จะมีความมั่นใจว่าจะได้กลับคืนมาก็ตามที
หลังจากเกิดเหตุการณ์นี้แล้วคงจะได้ทราบความเป็นมาของ "ลูกปัดสุริยเทพ" รวมถึงตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องที่มีความชำนาญด้านลูกปัดกันพอสมควร แต่ในจำนวนนั้นอดที่กล่างถึงไม่ได้ก็คือ ดร.พรชัย สุจิตต์ เจ้าของหนังสือ “ลูกปัด ในอดีต-ปัจจุบัน” ซึ่งเขียนไว้เมื่อปี 2546 ทำไม่ถึงต้องกล่าวถึงบุคคลคนนี้
ก็เพราะ ดร.พรชัย สุจิตต์ นั้นถือว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านนี้โดยตรงเลยก็ว่าได้เพราะว่าท่านนั้นจบปริญญาตรี-เอก ด้านด้านมานุษยวิทยาจากประเทศสหรัฐอเมริกา เคยเป็นอาจารย์สอนภาควิชามานุษยวิทยา คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้ช่วยผู้แทนกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ
ดร.พรชัย สุจิตต์ นั้นเป็นผู้ค้นหาชุมชนลุ่มน้ำโบราณมาตลอดทั้งชีวิต และมีผลงานชิ้นเอกที่ได้ค้นคว้ากับนายศรีศักร วัลลิโภดม อาจารย์ด้านโบราณคดี ก็คือการค้นพบภาพเขียนสียุคก่อนประวัติศาสตร์ ที่หน้าผาริมแม่น้ำโขง อ. โขงเจียม จ. อุบลราชธานี
ขณะที่ "ลูกปัดสุริยเทพ" นั้นก็ถือได้ว่า ดร.พรชัย สุจิตต์ ได้เป็นบุคคลหนึ่งที่ค้นพบที่จังหวัดกระบี่ โดยเว็บไซต์ประเพณีไทยได้ระบุไว้ว่า การสำรวจแหล่งโบราณคดีในจังหวัดกระบี่ เริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2517 โดยศาสตราจารย์ ดร. ดักลาส แอนเดอร์สัน และ ดร. วรรณี วิบูลสวัสดิ์ แอนเดอร์สัน ต่อมาปี พ.ศ. 2522 ได้มีการสำรวจอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง ในครั้งนี้ มี ดร.พรชัย สุจิตต์ ร่วมด้วย โดยได้รับความร่วมมือจากคุณวินัย และคุณโอวาท อุกฤษณ์ ในการติดต่อกับผู้ให้ข้อมูล พบว่ามีแหล่งโบราณคดีถึง 10 แหล่ง ต่อมาในเดือนตุลาคม 2525 - เดือน มกราคม 2526 มีการสำรวจเป็นครั้งที่ 3 โดยทีมงานชุดเดิมและได้รับความช่วยเหลือจากคุณจิรชัย อึ้งวิศิษฐ์วงศ์ จากการสำรวจพบว่ามีแหล่งโบราณคดีมากกว่า 10 แหล่ง ในจำนวนนี้มีแหล่งที่น่าสนใจ คือแหล่งโบราณคดี " ถ้ำหลังโรงเรียนทับปริก "
ในการสำรวจครั้งที่ 3 ศาสตราจารย์ ดร. ดักลาส แอนเดอร์สัน ได้ตัดสินใจเลือกถ้ำหลังโรงเรียนทับปริกเป็นแหล่งที่จะขุดค้นอย่างละเอียด ซึ่งจากการสำรวจพบว่าสภาพแวดล้อมบริเวณถ้ำ เป็นพื้นที่สูง น้ำท่วมไม่ถึงและมีเพิงกำบังลมและฝน เหมาะที่จะเป็นสถานที่พักชั่วคราวในปี พ.ศ. 2526 และ พ.ศ. 2528 ศาสตราจารย์ ดร. ดักลาส แอนเดอร์สัน ได้รับทุนสนับสนุนจาก สมาคมภูมิศาสตร์แห่งชาติ กรุงวอชิงตัน (The National Geographic Society) ในการขุดค้นถ้ำหลังโรงเรียน และได้ขุดลึกลงไปถึงชั้นดินที่ 10 จากการคำนวณอายุ โดยทางวิชาการในชั้นที่ 9 ให้อายุถึง 37,000 ปี แสดงถึงยุคที่น่าสนใจมากในการศึกษาพัฒนาการของมนุษย์ในเอเชีย เมื่อหมู่เกาะฟิลิปปินส์และอินโดนีเชียกับแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นพื้นแผ่นดินติดต่อกัน เป็นยุคการอพยพครั้งแรกสุดของมนุษย์ลงไปทางใต้สู่นิวกินี และออสเตรเลีย และเป็นช่วงที่มนุษย์สมัยโบราณ (Homo Sapians) พัฒนามาจากมนุษย์โบราณ (Hominids)
ใน ปี พ.ศ. 2533 มีการขุดค้นเป็นครั้งสุดท้าย รวมหลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบจากการขุดค้นมีทั้งหลุมฝังศพ โครงกระดูก เศษภาชนะดินเผาลายเชือกทาบ เครื่องมือหิน เครื่องมือจากเขาสัตว์และกระดูก รวมทั้งกระดูกสัตว์ขนาดใหญ่ เปลือกหอย และเมล็ดพืช หลักฐานทางโบราณคดีเหล่านี้ประมาณอายุได้ 43,000 ปี เป็นอย่างน้อย ซึ่งถือว่าเป็นแหล่งศึกษาทางโบราณคดีเกี่ยวกับมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ เพราะจากหลักฐานที่พบ คำนวณอายุได้ระหว่าง 43,000 -27,000 ปี ซึ่งอยู่ในยุคไพลสโตซีน (Plistocene) นับว่าเป็นชุมชนที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งเก่าแก่ที่สุดบนคาบสมุทรแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีมนุษย์อาศัยอยู่
แต่หลังจากนั้นไม่ได้หมายความว่าขุดหาวัตถุโบราณในพื้นที่จังหวัดกระบี่จะหยุดอยู่เท่านั้นยังคงมีการขุดค้นกันมาต่อ แต่เป็นกลุ่มคนกลุ่มอื่น จนกระทั้งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมานี้เองก็ได้มีข่าวว่ามีการขุดค้นพบลูกปัดและเครื่องประดับโบราณนานาชนิด
ทีนี่มาถึงหนังสือ “ลูกปัด ในอดีต-ปัจจุบัน” ของ ดร.พรชัย สุจิตต์ มีเนื้อหาที่เป็นการรวบรวมเรื่องราวของลูกปัดที่ได้มีโอกาสเก็บข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งโบราณคดีต่างๆในประเทศไทยและจากการค้นคว้า โดยมีการนำเสนอเรื่องราวด้วยภาพลูกปัดตามยุคและสถานที่ต่างๆ พร้อมคำบรรยายเกือบจะครึ่งเล่น ถัดจากนั้นจึงเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของลูกปัดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งก็มีรูปภาพและเนื้อหาเกี่ยวกับ "ลูกปัดสุริยเทพ" บรรจุไว้อย่างสมบูรณ์ ไม่ได้บอกชื่อว่าเป็น
"ลูกปัดสุริยเทพ"

สำหรับรูปภาพของ "ลูกปัดสุริยเทพ" และที่เกี่ยวข้อง ดร.พรชัย สุจิตต์ ได้บรรยายไว้ว่า ลูกปัดแก้วทำเป็นหน้าคน อาจมาจากแถวตะวันออกกลางหรือของโรมัน พบที่บริเวณเมืองท่าโบราณ อ.คลองท่อม จงกระบี่

ภาพถัดมาเป็นแผ่นหินคาร์นีเลียนแกะสลักเป็นรูปผู้หญิงศิลปะแบบโรมัน อาจใช้เป็นจี้ พบที่บริเวณเมืองท่าโบราณ อ.คลองท่อม จงกระบี่ เช่นกัน

และภาพสุดท้าย ชาวโฟนิเซีย (Phoenicia) โบราณนิยมผลิดลูกปัดแก้วและทำเป็นจี้ที่ทำเป็นรูปหัวคนและหัวสัตว์ เมื่อประมาณ 2,500 ปีกว่ามาแล้ว ลูกปัดประเภทนี้พบน้อยมาก โดยเฉพาะในตะวันออกกลาง ตัวอย่างนี้เป็นของปัจจุบัน สันนิษฐานว่ามาจากจีน โปรดสังเกตตัวตา ซึ่งจะทำให้คนร้ายเมื่อมองแล้วจะเกิดความกลัวผู้ที่ใช้จี้ประเภทนี้ห้อยคอ
ไม่แน่ใจว่าที่งานแสดงครั้งนี้มีลูกปัดของชาวโฟนิเซียแสดงคู่กับ "ลูกปัดสุริยเทพ" หรือไม่ ถ้ามีก็อาจจะทำให้คนที่ฉกไปรู้สึกกลัวแล้วไม่กล้าฉกและไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นก็ได้นะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Google