วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2552

หลักธรรมประจำใจ?ประเสริฐ นาสกุล?

หลักธรรมประจำใจ?ประเสริฐ นาสกุล?
วันที่ 7 กันยายันเป็นวันสุดท้ายที่นายประเสริฐ นาสกุล ประธานศาลรัฐธรรมนูญ จะเกษียณจากตำแหน่ง เพราะเป็นวันอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ เพราะรัฐธรรมนูญมาตรา 260 ได้กำหนด
ถึงสาเหตุของการพ้นจากตำแหน่งของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไว้ ที่(2) ระบุว่า มีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์ และขณะก็นี้เริ่มกระบวนการสรรหาบุคคลมาเป็นแทนแล้ว โดยกรรมการในสัด
ส่วนของพรรคการเมือง ผลออกมาก็เหมือนกับคณะกรรมการสรรหาบุคคลเป็นกรรมการการเลือกตั้งชุดใหม่ เมื่อพรรคร่วมรัฐบาลจับมือฮั้ว จนทำให้ไม่มีผู้แทนจากพรรคฝ่ายค้านอยู่ในกรรมการสรรหาชุดนี้แต่อย่างใด
เมื่อนายประเสริฐพ้นจากตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญแล้ว คงจะมีหน้าที่การงานช่วยเหลือประเทศชาติต่อเช่นเดียวกันกับนายเชาน์ สายเชื้อ อดีตประธานศาลรัฐธรรมนูญ ที่ได้รับ
การแต่งตั้งจากพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการ บสท. หรือแม้แต่นายมีชัย ฤชุพันธุ์ อดีตประธานวุฒิ ได้รับการเป็นประธานคณะกรรมการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายของรัฐบาล เพราะได้ฝากผลงานไว้ให้เป็นที่ประจักษ์
หากนายประเสริฐเลือกวิถีชิวิตที่สงบ ชื่อ?ประเสริฐ นาสกุล? คงจะจางหายไปจากกระแสสังคมข่าวสาร เหลือไว้แต่ความดีและความชั่วฝากไว้ในโลกา ดั่งคำโคลงที่ว่า ? พฤกษพผกาสร
อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคงสำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวายมลายทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดีประดับไว้ในโลก?
ก็ขึ้นอยู่กับวิญญูชนจะยึดคำสอนของหลวงพ่อพุทธทาสที่ว่า?เขามีส่วนเลวบ้างชั่งหัวเขา จงเลือกเอาส่วนดีเขามีอยู่ เป็นประโยชน์โลกบ้างยังน่าดู ส่วนที่ชั่วอย่าไปรู้ของเขาเลย? หรือ
ไม่ดังนั้นวิถีชีวิตการวางตนและหลักธรรมประจำใจของนายประเสริฐน่าจะเป็นอนุสติหรือเป็นประโยชน์สำหรับอนุชนรุ่นหลังทั้งในแวดวงสังคมและในวงการนิติศาสตร์
สำหรับพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีวิถีชิวิตและหลักธรรมเป็นอย่างไรนั้น เป็นที่ประจักษ์อยู่ ไม่ว่าจะมองด้านใดก็มีผู้นำมาเขียนเป็นสือเผยแพร่กัน แต่ในแง่ของหลักธรรมที่นายกรัฐมนตรีปฏิบัติเป็นหลักประจำใจอยู่เป็นอย่างไรนั้น
นายพิทักษ์ ไทรงาม เจ้าของนามปากกา"ฮ.นิกฮูกี้ " ได้เขียนหนังสือเรื่อง"ธรรมะของทักษิณ" โดยได้ระบุถึงสาเหตุในการเขียนว่า เพราะเห็นว่าพ.ต.ท.ทักษิณเป็นคนที่มีอายุน้อย แต่
ประสบความสำเร็จในชีวิตที่ดี จึงถือว่าน่าจะไม่ธรรมดา และการใช้ชีวิตให้คนรู้จักจนได้รับการเลือกตั้งอย่างท่วมท้นดังกล่าว ก็น่าจะสอดคล้องกับธรรมะหลายหมวด ดังนั้นจึงหวังเพียงเพื่อตีแผ่ให้สังคมนำไปเป็บแบบอย่างในการปฏิบัติ
ฮ.นิกฮูกี้ ได้ยกหลักธรรมที่เป็นหลักประจำใจของพ.ต.ท.ทักษิณ จะประสบผลสำเร็จมาได้ถึงวันนี้ ถือหลักอิทธิบาท 4 ประการ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา โดยเฉพาะมีความเพียรเป็นที่ตั้ง และเป็นผู้ฝักใผ่ในธรรมตั้งแต่เด็ก
แต่ ฮ.นิกฮูกี้ ได้ยกกรณีที่พ.ต.ท.ทักษิณต้องคดีซุกหุ้น จึงสรุปว่า คนเรามีทั้งดีและไม่ดีอยู่ในตัว แต่พยายามหยิบยกเอาเฉพาะด้านที่ดีมากเขียน
เมื่อ ฮ.นิกฮูกี้ได้เปิดตัวหนังสือในวันที่ 23 สิงหาคมแล้ว ได้มอบให้พ.ต.ท.ทักษิณนำแจกแก่คณะรัฐมนตรี โดยมีความหวังว่า จะมีรัฐมนตรีนำเอาส่วนที่ดีของนายกรัฐมนตรีเป็นหลักปฏิบัติบ้าง
ขณะที่ หลักธรรมประจำใจของนายประเสริฐนั้น ขณะนี้ยังไม่มีนักเขียนคนใดแจ้งความจำนงนำไปเขียนเป็นหนังสือเผยแพร่บ้าง เพราะตลอดระยะเวลาที่นายประเสริฐได้ทำหน้าที่เป็นประธานศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคดีของนายกรัฐมนตรีนั้น ได้นำหลักธรรมหลายข้อมาเตือนสติสังคม ที่ตั้งความหวังไว้ที่ผลคำวินิจฉสัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันแถลงคำวินิจฉัยคดีก็ได้ยกหลักธรรมขึ้นมาเตือนสติสังคม
นายประเสริฐ ได้ยกหลักของการทำหน้าที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะต้องยึดหลักตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และในพระปรมาภิไทย ต้องปฏิบัตินหน้าที่ด้วยคความซื่อสัตย์ สุจริต
ปราศจากอคติ 4 ประการคือ รัก โลภ โกรธ หลง และกลัว เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชน เกิดความสงบแห่งราชอาณาจักร และได้ยกหลักธรรมว่าด้วย กาลามสูตร 10 ประการมาเตือนสติสังคม
นั้นก็คือให้คนไทยก่อนพูดทำคิด ต้องให้ปัญญาพิจารณาด้วยเหตุด้วยผลเสียก่อนว่า ถูกหรือผิดอย่างไร
นอกจากนี้นายประเสริฐหยิบยกหลักธรรมขึ้นมาเตือนสติสังคมแล้ว ยังได้ประพฤติให้เป็นตัวอย่าง ซึ่งปกติแล้วเป็นคนที่พูดน้อยมักจะไม่ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว จนทำให้ผู้สื่อข่าวที่ไปทำข่าวที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญในช่วงพิจารณาคดีของนายกรัฐมนตรีรู้สึกอึดอัด
ยิ่งการพิจารณาคดีงวดเข้านายประเสริฐก็ยิ่งพูดน้อย จนทำให้ผู้สื่อข่าวจนปัญญาแม้ว่าจะพยายามถามคำกี่คำถาม จะได้คำตอบเพียงว่าวันนี้ไม่มีข่าว ไม่ให้สัมภาษณ์ แม้จะพูดก็มักจะมีคำพูดแปลก ๆ เช่น คำว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่ใช่พระอรหันต์
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะรู้สึกกดดันหรือไม่ต้องถามตึกสำนักงานกระแสข่าวหรือข่าวปล่อยเป็นอย่างไรต้องไปถามเกลียวคลื่น คนอื่นเข้าใจอย่างไรไม่สำคัญอยู่ที่ว่านักข่าวเข้าใจการทำ
หน้าที่ของตุลการศาลรัฐธรรมนูญอย่างไร เมื่อแถลงคำวินิจฉัยออกมาแล้วนายประเสริฐก็จะพูดว่า สำหรับผมจบแล้ว คือจะไม่วิพากษ์วิจารณ์นั้นเอง
หากจะพิจารณาจากพฤติกรรมการพูดของนายประเสริฐแล้วพอจะประมาณได้ว่า นายประเสริฐได้ยึดหลักธรรมคือ วจีสุจริต 4 ประการ คือ ไม่พูดเท็จมีสัจจวาจา พูดคำใดก็ต้องปฏิบัติ
ตามนั้น ไม่พูดส่อเสียดกระแหนะกระแหนคนอื่น ไม่พูดคำหยาบกล่าวให้ร้ายคนอื่น และที่สำคัญก็คือจะไม่พูดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
เมื่อนายประเสริฐได้ทำหน้าที่ตัดสินคดีของพ.ต.ท.ทักษิณเสร็จแล้ว แม้ว่าจะเป็นเสียงข้างน้อย ก็ประกาศที่จะทำหน้าที่ในตำแหน่งประธานศาลรัฐธรรมนูญไปจนกว่าจะเกษียณอายุใน
เดือนกันยายนนี้ กระนั้นก็ไม่วายจะมีข่าวปล่อยออกมาว่าจะลาออก นั้นแสดงให้เห็นว่า นายประเสริฐมีหลักพรหมวิหารธรรม 4 ประการ โดยเฉพาะข้อ อุเบกขา คือไม่มีความดีใจหรือ
เสียใจ ไม่รู้สึกโกรธที่เป็นเสียงข้างน้อย โดยเข้าใจว่าได้ทำหน้าที่อย่างดีที่สุดแล้ว
และหลักธรรมอีกประการหนึ่งที่นายประเสริฐทำให้ปรากฎ คือไม่มีมานะ ความถือตัว คือไม่ถือศักดิ์ว่าตัวเองนั้นมีตำแหน่งใหญ่โตถึงระดับประธานศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมจะมีอภิสิทธิ์
เหนือบุคคลอื่นอยู่บ้าง หรือแสดงว่านายประเสริฐไม่มีอุปกิเลสคือโทษเครื่องเศร้าหมองอยู่ในจิตใจ หรือมีก็มีน้อยหรือระงับได้ หรือมีหลักสังคหวัตถุธรรมข้อที่ 4 คือสมานัตตตา เป็นคนเสมอต้นเสมอปลาย
หลักธรรมข้อนี้ปรากฏได้ จากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 3 สิงหาคมซึ่งเป็นวันตัดสินคดีของนายกรัฐมนตรีแล้ว ในช่วงเย็นได้ไปเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช โดยการเปิดเผยจาก
อาจารย์เกษียร เตชะพีระ ซึ่งเขียนบทความลงในคอลัมน์หนังสือพิมพ์มติชนวันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม ต่อมานักเขียนนามปากกากระบี่ไม้ไผ่ นำมาประกอบในบทความคอลัมน์ทางพระเข้า
ข่มในหนังสือ?เสาร์สวัสดี?ที่พิมพ์แทรกในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ประจำวันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม โดยให้หัวข้อว่า?สรรวค์มีตา มนุษย์มีใจ? โดยได้กล่าวถึงบุคคล 2 คนเปรียบเทียบกันระหว่างพ.ต.ท.ทักษิณกับนายประเสริฐ
อาจารย์เกษียรได้เล่าถึงเหตุการณ์ในคอลัมน์ว่า ?เย็นย่ำของวันที่ศาลรัฐธรรมนูญประกาศคำพิพากษาประวัติศาสตร์นั้น ระหว่างเดินผ่านบริเวณระเบียงตึก ซึ่งคนไข้กำลังนั่งรอรับการ
จ่ายยา ระหว่างนั้นเองตาก็เหลือบเห็นคุณลุงสูงอายุคนหนึ่ง รูปร่างสันทัด ผอมบาง ผิวออกขาว ตัดผมรองทรงสั้นหวีเรียบ ใส่เสื้อเชิ้ตขาวแขนยาวติดกระดุมข้อมือผูกเนกไทเรียบร้อย นั่งปะปนอยู่ในหมู่คนไข้
ผมสะดุดตาคุณลุงเพราะคลับคล้ายคลับคลาว่าหน้าตามคุ้น ๆ เหมือนเคยเห็นบ่อย ๆ ที่ไหนสักแห่ง เข้าใจว่าอาจะในข่าวทีวี มองแล้วมองอีกจนเหลียวหลังแต่ยังนึกไม่ออก ก็พอดี
เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลประกาศรายชื่อคนไข้รายถัดไปดังสนั่นทางลำโพลง
?ประเสริฐ นาสกุล?
คุณลุงคนนั้นผุดลุกขึ้นเดินตรงรี่ไปที่ช่องเก็บเงินทันทีมิน่าล่ะ????.
ใครจะไปคิดว่าผู้ที่อาจกล่าวได้ว่ากุมอำนาจสำคัญที่สุดต่อการเมืองไทยขณะนั้น เพราะเป็นประธานคณะบุคคลที่กุมชะตากรรมทางการเมืองของนายกรัฐมนตรีไว้ในมือจะโผล่มา
หาหมอคลินิกตอนเย็นที่โรงพยาบาลหลวงอันค่อนข้างแออัดจอแจล่าช้า แทนที่จะเป็นโรงพยาบาลเอกชนอันรวดเร็วสะดวกสบายกว่าด้วยอากัปกิริยาท่าทีปกติธรรมดา นั่งเรียงแถวปะปน
บนระเบียงตึก เบียดชิดติดชาวบ้านสามัญอื่น ๆ ทั่งหลายโดยไม่ลัดคิว ไม่อ้างอภิสิทธิ์ เฝ้ารอเจ้าหน้าที่เรียกชื่อสกุลคนอื่นมาจนถึงตัวตามลำดับ ก่อนหลังโดยปราศจากคำนำหน้า ฯพณฯ? หรือท่านประธาน?
ลองคิดดูเถิดว่าต้องอาศัยชีวทรรศน์ท่าทีประหยัดเรียบง่าย ธรรมดา สูงสุดคืนสู่สามัญเพียงใหนต้องอาศัยความไว้วางในที่มีให้กับเพื่อคนไทยธรรมดาด้วยกันสักเพียงใด ท่านจึงทำเช่นนั้นได้
ผมเห็นแล้วก็ได้รู้สึกไว้วางใจคุณประเสริฐ นาสกุล ขึ้นมาจับใจ ถึงแม้ผมอาจไม่เห็นด้วยกับความคิดความเห็นในเรื่องการตีความและปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญท่านบ้าง แต่ผมไม่เห็นเหตุผลอันใดที่ประชาชนจะไม่ไว้วางใจบุคคลเรียบง่ายธรรมดา ผู้ไม่อวดฐานะตำแหน่งอำนาจ ไม่อ้างอภิสิทธิ์ อีกทั้งสะท้อนออกซึ่งความไว้วางใจ ประชาชนในวิถีการดำเนินชีวิตประจำวันเยี่ยงท่านตลกดี เทียบกับนายกรัฐมนตรีแล้ว ทั่งที่ผมก็เห็นด้วยกับนโยบายและท่วงทีบางประการของท่านโดยเฉพาะที่ท่านพยายามฟื้นเศรษฐกิจรากหญ้าของประชาชนขั้นล่าง ให้สวัสดิการประชาชนด้านการรักษาพยาบาล และลองเสาะแสวงหาแนวทางพัฒนาทางเลือกอื่นนอกเหนือจากทุ่มเทส่งออก พึ่งตลาดภายนอกตามคำชี้แนะดังทำกันมา ฯลฯ
แต่ถามว่าผมไว้วางในท่านหรือไม่ คิดได้แค่นั้นแล้วผมก็ถึงแต่ตะลึงลานไป???????
เหล่านี้คือหลักธรรมที่นายประเสริฐมีปรากฏให้สาธารณชนได้เห็นได้ทราบ ส่วนหลักธรรมอื่นเป็นอย่างไรนั้นคงเป็นเรื่องเฉพาะตน หากนายประเสริฐไม่บอกกล่าวให้ทราบหรือ
กระทำให้เป็นตัวอย่าง ก็ยากที่จะปรากฏได้เพราะมีหลักธรรมก็การไม่โออวดตัวเอง แต่เท่าที่ปรากฏนี้น่าจะเป็นประโยชน์และอนุสติแก่ชนรุ่นหลังได้บ้างไม่มากก็นี้ และหวังว่าจะมีนัก
เขียนบางคนนำหลักธรรมประจำตัวนายประเสริฐเขียนเป็นหนังสือเผยแพร่บ้าง แต่คงไม่ใช้ชื่อว่า?ธรรมะของนายประเสริฐ นาสกุล? อย่างหนังสือที่ฮ.นิกฮูกี้ที่ให้ชื่อว่า?ธรรมะของทักษิณ?
เพราะแม้พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ธรรม ก็ยังไม่ทรงโอ้อวดว่าเป็นธรรมะของพระองค์ แต่เป็นธรรมะที่พระองค์ทรงค้นพบเท่านั้น ซึ่งทำให้ไม่ขัดกับหลักอนัตตธรรม ซึ่งเป็นแก่นธรรมของพระพุทธศาสนา
???????????????
เป็นบทความที่เคยตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

วันพฤหัสบดี ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2550

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Google